Tag Archives: Market Timing

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (ก.ค. 61)

model-portfolio-07-2018

Model Portfolio เดือน ก.ค. 61 

กลับมาพบกับสรุป Model Portfolio ประจำเดือน ก.ค. 61 ซึ่งจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
    (ดังนั้นถ้าบางท่านอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเนื้อหาเหล่านี้
    ผมสอนไว้ในหลักสูตร DIY ซึ่งไม่ได้มีวิดีโอให้ดูใน YouTube นะครับ)
  2. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 31 ก.ค. 61

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 331,024.03 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาทแล้ว)
  • เดือน ก.ค. 61 กำไร เท่ากับ 4,646.28  บาท หรือ +1.45%
  • ผลตอบแทนสะสมปี 2561 (7 เดือน) ขาดทุนอยู่  -2.76%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน ก.ค. 61
    พอร์ต +1.45% vs BM +3.33% แพ้ Benchmark ไปกว่าครึ่ง
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +6.52% vs BM +14.96% แพ้เท่ากับ -8.44%

ถือเป็นการแพ้สะสมค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็เกิดจากทั้งค่าธรรมเนียมของกอง และจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดด้วย

ซึ่งหลักๆ ที่ทำให้แพ้มากมายก็คือการที่ BM ในส่วนของ Foreign Stock นั้น ผมเซ็ทไว้ง่ายๆ เป็นดัชนี S&P500 TRI คือมอง S&P500 เสมือนเป็นทางเลือกที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด ถ้าจะไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ

แต่ในการลงทุนจริงนั้น ผมใช้วิธีเลือก Region และ Sector เอาเอง โดยคิดว่าจะเลือกได้ดีกว่าการลงทุนง่ายๆ ตาม S&P500 แต่ผลปรากฎว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตั้งแต่ที่เริ่มลงทุนในเดือน ส.ค. 59 มานั้น ดัชนี S&P500 ถือเป็นดัชนีหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนดีอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว ขณะที่หุ้นต่างประเทศใน Region อื่นๆ นั้น ทำได้ไม่ดีเท่า

นอกจากนั้น BM ในส่วนของ Property ซึ่งผมเลือกใช้กอง M-PROPERTY มาเป็น Benchmark เนื่องจากดัชนี SET PF&REIT TRI ที่ควรใช้เป็น BM มากกว่า ไม่ได้มีเผยแพร่ให้เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งตอนแรกผมมองว่า M-PROPERTY จะเป็นกองระดับกลางๆ เนื่องจากเป็นกองที่ค่อนข้างเก่า นโยบายการลงทุนไม่ได้กว้างนัก แถมปิดไม่ให้ซื้อเพิ่มแล้ว ก็กลับให้ผลตอบแทนได้สูงสุดอันดับต้นๆ ในกลุ่ม Fund of Property Fund ทำให้กอง Property ที่เลือกมาลงทุนจริง ให้ผลตอบแทนแพ้ M-PROPERTY มาตลอด

หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2018 ก็ยังถือว่าแพ้เยอะอยู่ ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM กำไร +2.45% แต่พอร์ตขาดทุนไป -2.76% แพ้อยู่ 5.22% ซึ่งถือว่าเยอะมาก

หากมองเพียงแค่ 2 เดือน คือเดือน มิ.ย. – ก.ค. จะยิ่งเห็นความผิดพลาดมากขึ้นอีก เพราะสำหรับผลตอบแทนของ Benchmark แล้ว 2 เดือนดังกล่าว มีลงแรง (-3.09%) ตามด้วยดีดกลับแรง (+3.33%) แต่สุดท้ายก็เป็นสองเดือนที่ยังมีกำไรนิดหน่อย แต่ผลตอบแทนจริงของพอร์ตสะสม 2 เดือน กลับยังขาดทุน คือลงไป -2.54% แต่ตอนดีดกลับ กลับมาเพียง +1.45% เท่านั้น

สาเหตุคืออะไร ในหัวข้อต่อไป จะมีคำตอบให้ครับ


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน ก.ค. 61

04-attribution-graph

จากกราฟ Performance Attribution (อย่างง่าย) ด้านบน เราสามารถวิเคราะห์ดูสาเหตุได้ครับ ว่าสาเหตุของการที่พอร์ตสามารถเอาชนะ BM ในเดือนนี้นั้น เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
  • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน จะเห็นว่าเดือนนี้ Asset Benchmark ส่วนใหญ่ (ยกเว้นทองคำ) ให้ผลตอบแทนเป็นบวก เป็นการดีดกลับแรง หลังจากเดือนที่แล้วตกไปหนัก โดยแต่ละสินทรัพย์ให้ผลตอบแทนดังนี้
    • ตราสารหนี้ไทย + 0.06%
    • อสังหาไทย + 2.60%
    • หุ้นไทย +6.70%
    • หุ้นต่างประเทศ +4.57%
    • ทองคำ -2.51%
  • ซึ่งในการตัดสินใจลงทุนจริงนั้น ผมได้ Underweight ทุกสินทรัพย์ที่เดือนนี้ให้ผลตอบแทนเป็นบวก เนื่องจากคิดว่าสินทรัพย์เหล่านั้น จะตกต่อเนื่อง แต่ข้อเท็จจริงคือ ดีดกลับขึ้นมา (และแรงด้วย)
  • การตัดสินใจเรื่อง TAA ของผมในเดือนนี้ จึงถือว่าผิดอย่างรุนแรง

2. ระดับ Fund Selection

  • ในระดับนี้เราจะเจาะเข้ามาดูกองที่เลือกไว้กันว่า เมื่อเทียบกับ Asset BM แล้ว กองทำได้ดีร้ายอย่างไร
  • หากอ่านที่คอลัมน์ Selection จะเห็นคำว่า “Underperformed” ตัวสีแดงเยอะมาก นั่นคือในเดือนนี้นั้น กองที่ผมเลือกมาส่วนใหญ่ ให้ผลตอบแทนแพ้ Asset BM ของตัวมันเอง
  • จะมีก็แค่ KFDYNAMIC และ TMBPIPF เท่านั้นที่เดือนนี้ถือว่าทำผลงานได้โอเค)

โดยรวมเดือนนี้ถือเป็นความผิดพลาดอย่างหนักทั้งในการตัดสินใจทำ TAA และ Fund Selection ซึ่งอ่านตลาดและเลือกกองได้ผิดแบบสองต่อ

ทั้งนี้ขอ Remark ไว้หน่อยนึงนะครับ ว่า Model Port ที่ทำอัพเดททุกเดือนนี้ เป็นพอร์ตส่วนที่ไม่ใหญ่มาก เมื่อเทียบกับพอร์ตหลักของผม และเป็นพอร์ตที่ผมตั้งใจจะตัดสินใจลงทุนแบบ Active จริงๆ ในทุกๆ ด้าน เพื่อสาธิตการประยุกต์ใช้ความรู้จากหลักสูตร DIY Portfolio ให้หลากหลาย

ซึ่งเมื่อตัดสินใจแบบ Active มาก เวลาผิดพลาดก็จะเป็นแบบที่เห็นอยู่นี้ครับ  แต่เส้นทางลงทุนของพอร์ตนี้ก็ยังอีกยาว (ราวๆ 18 ปี) ผมก็จะพยายามบริหารไปให้สุดทาง ผิดก็เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ครับ


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

หากท่านใดติดตามพอร์ตนี้มาทุกๆ เดือน จะเห็นว่านับตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 1 ปี 61 เป็นต้นมา ผมก็ทยอยลดสินทรัพย์เสี่ยงตระกูลหุ้นมาโดยตลอด โดยหากสังเกตจากรูปด้านล่าง จะเห็นว่าพื้นที่สีฟ้า ซึ่งเป็นตราสารหนี้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ

05-aa-history

ซึ่งถ้าหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ เป็นขาลงต่อไปเรื่อยๆ พอร์ตลักษณะนี้คงจะเสียหายน้อยกว่าพอร์ตที่ไม่ปรับลดหุ้นเอาไว้

ซึ่งหากให้น้ำหนักกับปัจจัยด้าน Momentum / Trend Following โดยดูแนวโน้มราคาสินทรัพย์ เทียบกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 และ 40 สัปดาห์ (เพื่อวัดแนวโน้มระยะกลาง ระยะยาวตามลำดับ) ว่าตอนนี้เป็นขาขึ้นหรือขาลง
มันก็ยังอ่านค่าได้ไม่ต่างจากเดือนที่แล้วนัก

08-trend

นั่นคือสินทรัพย์ในฝั่งประเทศไทย และ Emerging Markets รวมถึง Asia ด้วย อยู่ในแนวโน้มขาลงเกือบหมดทั้งระยะกลาง (ต่ำกว่าเส้น 20 สัปดาห์) และระยะยาว (ต่ำกว่าเส้น 40 สัปดาห์)

ส่วนสินทรัพย์ที่ยังเป็นขาขึ้นอยู่ ก็จะเป็นหุ้นโซนประเทศที่พัฒนาแล้ว (DM) นอกจากนั้นก็ยังมีอสังหาริมทรัพย์ไทยด้วย (SET PF&REITs)

ถ้าดูแค่นี้ จะไม่ปรับพอร์ตอะไรก็ได้ คือยังคง Underweight สินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมต่อไป แบบที่เป็นอยู่ แต่เนื่องจากเดือนที่แล้ว หุ้นดีดขึ้นมาแรงมาก ผมเลยขอไปดูแนวโน้มระยะสั้นดูเสียหน่อย

ซึ่งในที่นี้ก็จะใช้การดูกราฟราคาหุ้นแบบกราฟรายวัน (Day) และใช้เครื่องมือง่ายๆ คือ Trend Line มาช่วย โดยผมไล่เปิดดูหลายๆ สินทรัพย์ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าแนวโน้มระยะสั้น จะกลับมาเป็นขาขึ้นแล้วหรือไม่

แต่มีกราฟหุ้นไทยนี่ล่ะครับ ที่ผมรู้สึกว่า มันมีสิทธิ์ที่แนวโน้มระยะสั้นจะกลับเป็นขาขึ้นแล้ว ดูจากการที่ SET Index สามารถ Break เส้น Trend Line ขาลง (เส้นหนาสีน้ำเงิน) ขึ้นมาได้

set_trend

ซึ่งถ้าหุ้นไทยยังขึ้นได้ต่อ อีกสักพักราคามันก็จะข้ามขึ้นไปเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 20 และ 40 สัปดาห์ได้ ซึ่งก็มีสิทธิ์ทำให้แนวโน้มระยะกลาง และยาวกลับเป็นขาขึ้นไปด้วย

ดังนั้นในเดือนนี้ผมจึงอยากลอง “เก็ง” ดู ว่าหุ้นไทยน่าจะไปต่อได้ โดยจะเพิ่มสัดส่วนหุ้นไทยที่ Underweight ไว้มาก ให้ขยับขึ้นมาหน่อย

ขณะเดียวกันหลังจากข่าวเรื่อง Trade War ซาลงไป ผมคิดว่าบรรยากาศการลงทุนโดยรวมมันก็ดีขึ้น ดังนั้นก็จะขอถือโอกาสเพิ่มสินทรัพย์ที่ปัจจุบันยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเข้าไปในพอร์ตด้วยอีกหน่อยเช่นกัน

โดยมีสรุปแผนการปรับพอร์ตตามตารางนี้

07-target-aa

โดยผมจะทำรายการดังนี้ครับ

  • นำเงินลงทุนใหม่ 5,000 บาท ไปซื้อกอง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ซึ่งลงทุนในหุ้น DM
  • สับเปลี่ยนกองตราสารหนี้ K-FIXED ยอด 20,000 บาท ไปยังกอง TMBPIPF ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์
  • สับเปลี่ยนกองตราสารหนี้ K-FIXED ยอด 20,000 บาท ไปยังหุ้นไทย แบ่งเป็นกอง KFDYNAMIC (หุ้นกลาง) 10,000 บาท และกอง BTP (หุ้นใหญ่) อีก 10,000 บาท

โดยเมื่อทำรายการในระบบของ Nomura จะได้สรุป Transaction ดังนี้ครับ

06-transaction

เนื่องจากผมส่งคำสั่งในวันที่ 1 ส.ค. 61 หลัง Cut-off Time ไปแล้ว รายการที่สั่งจึงจะมีผลในวันที่ 2 ส.ค. 61 นะครับ ซึ่งกว่าที่เงินจะออกจาก K-FIXED แล้วได้เข้าไปลงทุนใน BTP, KFDYNAMIC, TMBPIPF ก็จะเป็นวันที่ 6 ส.ค. 61 ครับ

รวมๆ การปรับพอร์ตเดือนนี้ ก็อยู่ในอารมณ์ที่กล้าขึ้นนิดนึง มองโลกดีขึ้นนิดนึงครับ


ทิ้งท้ายก่อนจาก

เช่นเคยครับ ก่อนจบต้องมีวิดีโอขำๆ ของเจ้าของพอร์ตตัวจริง ซึ่งก็คือลูกสาวผม ตอนนี้เอเจก็จะสองขวบแล้ว

ขอตั้งชื่อวิดีโอนี้ว่า “มีขึ้นก็ย่อมมีลง” นะคร้าบ ^_^

 

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (มิ.ย. 61)

model-portfolio-06-2018

Model Portfolio เดือน มิ.ย. 61 

กลับมาพบกับสรุป Model Portfolio ประจำเดือน มิ.ย. 61 ซึ่งจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
    (ดังนั้นถ้าบางท่านอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเนื้อหาเหล่านี้
    ผมสอนไว้ในหลักสูตร DIY ซึ่งไม่ได้มีวิดีโอให้ดูใน YouTube นะครับ)
  2. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 29 มิ.ย. 61

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 321,377.75 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาท และเงินปันผลที่ได้จากกอง TMBPIPF ในเดือน มิ.ย. อีก 564.31 บาทแล้ว)
  • เดือน มิ.ย. 61 ขาดทุน เท่ากับ 8,261.30  บาท หรือ -2.54%
  • ผลตอบแทนสะสมปี 2561 (6 เดือน) ขาดทุนอยู่  -4.15%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน มิ.ย. 61
    พอร์ต -2.54% vs BM -3.09% ชนะ Benchmark เพราะขาดทุนน้อยกว่า
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +5.00% vs BM +11.25% แพ้เท่ากับ -6.25%

ถือเป็นการแพ้สะสมค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็เกิดจากทั้งค่าธรรมเนียมของกอง และจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดด้วย

ซึ่งหลักๆ ที่ทำให้แพ้มากมายก็คือการที่ BM ในส่วนของ Foreign Stock นั้น ผมเซ็ทไว้ง่ายๆ เป็นดัชนี S&P500 TRI คือมอง S&P500 เสมือนเป็นทางเลือกที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด ถ้าจะไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ

แต่ในการลงทุนจริงนั้น ผมใช้วิธีเลือก Region และ Sector เอาเอง โดยคิดว่าจะเลือกได้ดีกว่าการลงทุนง่ายๆ ตาม S&P500 แต่ผลปรากฎว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตั้งแต่ที่เริ่มลงทุนในเดือน ส.ค. 59 มานั้น ดัชนี S&P500 ถือเป็นดัชนีหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนดีอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว ขณะที่หุ้นต่างประเทศใน Region อื่นๆ นั้น ทำได้ไม่ดีเท่า

นอกจากนั้น BM ในส่วนของ Property ซึ่งผมเลือกใช้กอง M-PROPERTY มาเป็น Benchmark เนื่องจากดัชนี SET PF&REIT TRI ที่ควรใช้เป็น BM มากกว่า ไม่ได้มีเผยแพร่ให้เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งตอนแรกผมมองว่า M-PROPERTY จะเป็นกองระดับกลางๆ เนื่องจากเป็นกองที่ค่อนข้างเก่า นโยบายการลงทุนไม่ได้กว้างนัก แถมปิดไม่ให้ซื้อเพิ่มแล้ว ก็กลับให้ผลตอบแทนได้สูงสุดอันดับต้นๆ ในกลุ่ม Fund of Property Fund ทำให้กอง Property ที่เลือกมาลงทุนจริง ให้ผลตอบแทนแพ้ M-PROPERTY มาตลอด

หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2018 ก็ยังถือว่าแพ้เยอะอยู่ ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM เพิ่งจะขาดทุน -0.85% แต่พอร์ตขาดทุนไป -4.15% แพ้อยู่ -3.35% ซึ่งถือว่าเยอะ แต่เดือน มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา ก็ถือเป็นเดือนแรกที่พอร์ตเริ่มกลับมาชนะ BM ได้พอสมควร


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน มิ.ย. 61

04-attribution-graph

จากกราฟ Performance Attribution ด้านบน เราสามารถวิเคราะห์ดูสาเหตุได้ครับ ว่าสาเหตุของการที่พอร์ตสามารถเอาชนะ BM ในเดือนนี้นั้น เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
    • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน จะเห็นว่าเดือนนี้ Asset Benchmark ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกจะมีแค่ตราสารหนี้อย่างเดียว ส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ นั้น ลบกันไปหมด เรียงตามลำดับความรุนแรง ดังนี้
      • หุ้นไทย -7.58% ในเดือนเดียว ซึ่งสูงมากๆ
      • ทองคำ -4.06%
      • อสังหาฯ  -1.64%
      • หุ้นตปท. -0.14%
    • ซึ่งในการลงทุนจริงนั้น ผมได้ Underweight อสังหา และหุ้นไทยไปก่อนแล้ว ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ก็ลงแค่น้ำหนักปานกลาง (Neutral Weight) ดังนั้น ในเดือนนี้ ถือว่าผมตัดสินใจ TAA ได้ถูกต้อง
  2. ระดับ Fund Selection
    • ในระดับนี้เราจะเจาะเข้ามาดูกองที่เลือกไว้กันว่า เมื่อเทียบกับ Asset BM แล้ว กองทำได้ดีร้ายอย่างไร
    • หากอ่านที่คอลัมน์ Selection จะเห็นคำว่า “Underperformed” ตัวสีแดงเยอะมาก นั่นคือในเดือนนี้นั้น กองที่ผมเลือกมาส่วนใหญ่ ให้ผลตอบแทนแพ้ Asset BM ของตัวมันเอง ตัวอย่างเช่นหุ้นไทย BM -7.58% แต่กองที่ผมเลือกมาคือ BTP -8.20% และ KFDYNAMIC -8.45% เป็นต้น

โดยรวมเดือนนี้การที่พอร์ตขาดทุนน้อยกว่า BM ได้ ก็เพราะการตัดสินใจ TAA เป็นหลัก เพราะแม้ว่ากองที่ Select มาลงทุนจริง จะทำได้แย่กว่า Asset BM แต่ด้วยน้ำหนักของสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะ Thai Stock กับ Property ที่ Underweight ไว้เยอะ ทำให้ Net แล้วยังคงลดความเสียหายต่อพอร์ตได้ดีอยู่

หรือพูดอีกแบบคือ จะขาดทุนน้อยกว่านี้ ถ้าลงทุนตาม Weight นี้ แต่เลือกกองได้ดีขึ้น


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

หากท่านใดติดตามพอร์ตนี้มาทุกๆ เดือน จะเห็นว่านับตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาศ 1 ปี 61 เป็นต้นมา ผมก็ทยอยลดสินทรัพย์เสี่ยงตระกูลหุ้นมาโดยตลอด โดยหากสังเกตจากรูปด้านล่าง จะเห็นว่าพื้นที่สีฟ้า ซึ่งเป็นตราสารหนี้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ

05-aa-history

ซึ่งก็ถือว่าทำมาถูกทาง โดยเฉพาะในเดือนที่แล้วนั้น ผมตัดสินใจลดหุ้นไทย และหุ้นเอเชียลงค่อนข้างเยอะ ทำให้เสียหายน้อยลงหน่อย

ในเดือนนี้นั้น ผมก็ยังคงให้น้ำหนักกับปัจจัยด้าน Momentum / Trend Following มากกว่าปัจจัยเรื่อง Valuation เพราะแม้หุ้นจะตกลงมาพอควร แต่หากวัดด้วย P/E แล้ว ตลาดหุ้นหลายๆ แห่ง ก็ไม่ได้ถูกมากมายจนน่าซื้อ เต็มที่ราคาก็ลงมาอยู่ระดับกลางๆ เท่านั้น

ซึ่งผมสรุปแนวโน้มโดยดูราคาสินทรัพย์ เทียบกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 และ 40 สัปดาห์ (เพื่อวัดแนวโน้มระยะกลาง ระยะยาวตามลำดับ) จะได้ผลสรุปดังตารางนี้ครับ

08-trend

จากตารางจะเห็นว่า สินทรัพย์ในฝั่งประเทศไทย และ Emerging Markets รวมถึง Asia ด้วย อยู่ในแนวโน้มขาลงเกือบหมดแล้วทั้งระยะกลาง และระยะยาว

สินทรัพย์ที่ยังรักษาแนวโน้มขาขึ้นไว้ได้อยู่ก็มีหุ้นอินเดีย หุ้นสหรัฐ หุ้นญี่ปุ่น หุ้น Global Tech เท่านั้น ซึ่งหากเปิดกราฟดูราคาของหลายๆ ดัชนีที่ยังเป็นขาขึ้นก็ยังดูลูกผีลูกคน คือมีสิทธิ์จะตกมาเป็นขาลงตามดัชนีอื่นๆ ได้ไม่ยากเลย

ดังนั้นผมจะยังไม่ได้ปรับเงินไปยังสินทรัพย์ที่เป็นขาขึ้น เพราะส่วนตัวไม่ชัวร์ว่าขาขึ้นจะยังอยู่ไปเรื่อยๆ มั๊ย ตรงกันข้ามผมขอหันมาโฟกัสที่การรักษาเงิน ในส่วนของสินทรัพย์ที่ผมยังมีถืออยู่ แต่ ณ ตอนนี้มันเป็นขาลงชัดเจนไปแล้วจะดีกว่า และนี่คือการตัดสินใจของผมเดือนนี้ครับ

07-target-aa

จากตาราง Rebalancing Plan จะเห็นว่าผมลดหุ้นเอเชีย (TMBAGLF) และหุ้นยุโรป (KT-EURO) ลงจนเหลือศูนย์ และนำเงินทั้งหมดที่ลดไปพักไว้ในตราสารหนี้ (K-FIXED) ก่อน ทั้งนี้รวมถึงเงินใหม่ของเดือนนี้ 5,000 บาท และเงินปันผลจากกอง TMBPIPF ที่รับมาในเดือนที่แล้ว 564.31 บาท ด้วย

โดยจะทำรายการดังนี้

  • สับเปลี่ยน TMBAGLF และ KT-EURO ไปยังกอง K-FIXED
  • ซื้อ K-FIXED ยอด 5,564.31 บาท (5,000 + 564.31)

06-transaction

จากรูปด้านบน จะเห็นว่ารายการส่วนใหญ่เกิดวันจันทร์ที่ 2 ก.ค. ซึ่งก็คือวันพรุ่งนี้ (วันที่ผมเขียนคือ อาทิตย์ที่ 1 ก.ค. ) ยกเว้นกอง KT-EURO รายการจะเกิดวันที่ 3 ก.ค. เพราะวันที่ 2 เป็นวันหยุดของกองครับ


ทิ้งท้ายก่อนจาก

ช่วงตลาดขาลงแบบนี้ ระวังอย่าเผลอให้อารมณ์ของพอร์ต มากลืนกินด้านอื่นๆ ในชีวิตกันมากไปนะครับ

ขึ้นชื่อว่าการลงทุน ยังไงก็ต้องเจอขาลงอยู่แล้ว เราทำได้ก็แค่รับมือกับมันให้ดีที่สุด แล้วก็ต้องปล่อยวางกับผลลัพธ์บ้างแล้วครับ

หวังว่าวิดีโอของเด็กน้อย เจ้าของพอร์ตคนนี้ จะพอช่วยเรียกรอยยิ้มได้บ้างนะครับ 1 เดือนมานี้ เอเจเริ่มอยากช่วยงานบ้านโน่นนี่นั่นเยอะขึ้นมาก มาดูเธอช่วยแม่ล้างผักกันนะครับ

 

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (พ.ค. 61)

model-portfolio-05-2018

Model Portfolio เดือน พ.ค. 61 

กลับมาพบกับสรุป Model Portfolio ประจำเดือน พ.ค. 61 ซึ่งจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
    (ดังนั้นถ้าบางท่านอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเนื้อหาเหล่านี้
    ผมสอนไว้ในหลักสูตร DIY ซึ่งไม่ได้มีวิดีโอให้ดูใน YouTube นะครับ)
  2. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 30 พ.ค. 61

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 324,639.05 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาทแล้ว)
  • เดือน พ.ค. 61 ขาดทุน เท่ากับ 2,570.37  บาท หรือ -0.80%
  • ผลตอบแทนสะสมปี 2561 (5 เดือน) ขาดทุนอยู่  -1.65%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน พ.ค. 61
    พอร์ต -0.80% vs BM +0.00% แพ้ไปเยอะทีเดียว
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +7.74% vs BM +14.79% แพ้เท่ากับ -7.05%
    ซึ่งเป็นการแพ้สะสมมากขึ้นทุกเดือน

แพ้สะสมเยอะขนาดนี้คงไม่ใช่แค่ผลจากค่าธรรมเนียมแล้ว แต่เป็นผลจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดด้วย

ซึ่งหลักๆ ที่ทำให้แพ้มากมายก็คือการที่ BM ในส่วนของ Foreign Stock นั้น ผมเซ็ทไว้ง่ายๆ เป็นดัชนี S&P500 TRI คือมอง S&P500 เสมือนเป็นทางเลือกที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด ถ้าจะไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ

แต่ในการลงทุนจริงนั้น ผมใช้วิธีเลือก Region และ Sector เอาเอง โดยคิดว่าจะเลือกได้ดีกว่าการลงทุนง่ายๆ ตาม S&P500 แต่ผลปรากฎว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตั้งแต่ที่เริ่มลงทุนในเดือน ส.ค. 59 มานั้น ดัชนี S&P500 ถือเป็นดัชนีหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนดีอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว ขณะที่หุ้นต่างประเทศใน Region อื่นๆ นั้น ทำได้ไม่ดีเท่า

นอกจากนั้น BM ในส่วนของ Property ซึ่งผมเลือกใช้กอง M-PROPERTY มาเป็น Benchmark เนื่องจากดัชนี SET PF&REIT TRI ที่ควรใช้เป็น BM มากกว่า ไม่ได้มีเผยแพร่ให้เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งตอนแรกผมมองว่า M-PROPERTY จะเป็นกองระดับกลางๆ เนื่องจากเป็นกองที่ค่อนข้างเก่า นโยบายการลงทุนไม่ได้กว้างนัก แถมปิดไม่ให้ซื้อเพิ่มแล้ว ก็กลับให้ผลตอบแทนได้สูงสุดอันดับต้นๆ ในกลุ่ม Fund of Property Fund ทำให้กอง Property ที่เลือกมาลงทุนจริง ให้ผลตอบแทนแพ้ M-PROPERTY มาตลอด

หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2018 ก็ยังถือว่าแพ้เยอะอยู่ ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM กำไร +2.31% แต่พอร์ตขาดทุนไป -1.65% แพ้อยู่ -3.95% ซึ่งถือว่าเยอะมาก


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน พ.ค. 61

04-attribution-graph

จากกราฟ Performance Attribution ด้านบน เราสามารถวิเคราะห์ดูสาเหตุได้ครับ ว่าสาเหตุของการแพ้ BM เดือนนี้เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
    • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน จะเห็นว่าเดือนนี้ Asset Benchmark ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกคือ Property และ Foreign Stock
    • ซึ่งในการลงทุนจริงนั้น ผมดัน Underweight Property และ Neutral Weight Foreign Stock ทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นของ Asset สองประเภทนี้อย่างเต็มที่
  2. ระดับ Fund Selection
    • ในระดับนี้เราจะเจาะเข้ามาดูกองที่เลือกไว้กันว่า เมื่อเทียบกับ Asset BM แล้ว กองทำได้ดีร้ายอย่างไร
    • ในส่วนของกองที่ชนะ Asset BM อย่างชัดเจนมากคือ CIMB-PRINCIPAL GOPP-A และ KF-GTECH ซึ่งบวกกว่า 5% เทียบกับ Foreign Stock BM ซึ่งบวกเพียง 2% เศษๆ
    • ขณะที่กองที่แพ้ Asset BM ของตัวเองคือ TMBPIPF, KFDYNAMIC, TMBAGLF, KT-EURO, CIMB-PRINCIPAL GIF
    • จะเห็นว่ากองที่แพ้มีมากกว่ากองที่ชนะ

โดยรวมเดือนนี้การตัดสินใจทั้งสองระดับจึงถือว่าทำได้ไม่ดี นี่จึงเป็นเหตุผลที่พอร์ตให้ผลตอบแทนแพ้ Benchmark แบบ -0.59% vs 0.00% ในเดือนนี้

ถ้าท่านใดสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ในกราฟนี้พอร์ตขาดทุน -0.59% แต่พอร์ตจริง -0.80% ส่วนต่างที่ทำให้ขาดทุนมากกว่า เกิดจากการที่ผมเพิ่งซื้อกอง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A เข้าไประหว่างเดือน ซึ่งต้องเสีย Front-end Fee 1.50% และยังทำให้ได้ผลตอบแทนไม่เต็ม 5.11% เหมือนที่แสดงในกราฟ (แต่ก็แอบดีใจนิดๆ ที่กองที่เลือกเข้าไปใหม่สดๆ ร้อนๆ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี)


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

หลังจากที่ผมตัดสินใจสะสมเงินสด (ในรูปของกองทุนรวมตราสารหนี้) มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และเริ่มที่จะสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นผ่านกอง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A (ซึ่งเน้นลงทุนใน Developed Market) ในเดือนที่แล้ว ด้วยความเชื่อว่าหุ้นฝั่งประเทศพัฒนาแล้วยังพอไปได้ ส่วนหุ้น Emerging Markets ดูจะแย่ลงชัดเจน

1 เดือนผ่านไป สิ่งนั้นก็ยิ่งชัดเจนขึ้น หากพิจารณาจากแนวโน้มราคาด้านล่างนี้ ซึ่งเรียงจาก S&P500 Index ที่เป็นตัวแทน DM Equity ตามด้วย MSCI Emerging Market และ SET Index ในฐานะตัวแทนของ EM Equity

09-sp500

11-eem

10-set

จาก 3 กราฟด้านบนจะเห็นว่า S&P500 ยังคงเกาะแนวโน้มขาขึ้นไปได้ โดยดูจากที่ราคายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 20 และ 40 สัปดาห์ หรือ 100 และ 200 วันได้ ขณะที่ EEM ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่เกาะดัชนี MSCI EM และ SET หลุดเส้นค่าเฉลี่ย 40 สัปดาห์ไปแล้ว

ซึ่งถ้าใครให้น้ำหนักกับปัจจัยด้าน Momentum / Trend Following การที่ราคาสินทรัพย์หลุดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แนวโน้มใหญ่ๆ แบบนี้ ก็ถือว่าน่ากลัว ทำให้เดือนนี้ผมจะปรับพอร์ตในทิศทางเดิม ต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว

นั่นคือลดหุ้น EM (รวมหุ้นไทย) ลง และยังคงค่อยๆ สะสมหุ้น DM เพิ่ม โดยผมยังคงใช้กอง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ต่อจากเดือนก่อน ทำให้มีแผนการปรับพอร์ตดังนี้

07-target-aa

โดยมีสรุปรายการดังนี้

  • ลดหุ้นไทย ด้วยการสับเปลี่ยน KFDYNAMIC และ BTP  ไปยัง K-FIXED กองละ 10,000 บาท
  • ลดหุ้นเอเชีย เพิ่มหุ้น DM ด้วยการสับเปลี่ยน TMBAGLF ไปยัง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ยอด 10,000 บาท
  • เพิ่มหุ้น DM ด้วยการสั่งซื้อ CIMB-PRINCIPAL GOPP-A จากเงินใหม่ 5,000 บาท

โดยรวมจะเห็นว่า EM Equity จะลดลง 30,000 บาท ส่วน DM Equity จะเพิ่มขึ้น 15,000 บาท และตราสารหนี้เพิ่มขึ้น 20,000 บาท

โดยผมทำรายการดังนี้ครับ

06-transaction

จะเห็นว่ารายละเอียดการปรับพอร์ตด้านบน ผมเขียนไว้ว่า ผมสับเปลี่ยนกอง TMBAGLF ไปยัง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A แต่เวลาทำรายการจริงๆ ผมกลับสับเปลี่ยนกอง BTP ไปยัง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A แทน

สาเหตุก็เพราะหากสับเปลี่ยนจาก TMBAGLF ไปยัง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A จะใช้เวลามากเกินไป เนื่องจากกอง TMBAGLF รับเงิน T+5 ขณะที่กอง BTP รับเงิน T+1  เวลาทำรายการจริง ผมจึงเลือกสับเปลี่ยนจากกองที่ได้เงินเร็วกว่าแทน จะได้ซื้อกอง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A  ได้เร็วขึ้นครับ


ทิ้งท้ายก่อนจาก

พักจากเรื่องพอร์ตมาดูเจ้าของพอร์ตกันตามเคยนะครับ

1 เดือนมานี้ เอเจพัฒนาไปมาก จำหนังสือที่อ่านบ่อยๆ ได้จนพ่อแม่ทึ่ง การเล่นต่างๆ เริ่มเร็วและแรงขึ้น เริ่มเจรจาต่อรองได้มากทีเดียว ^_^