Tag Archives: Implementation

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (ม.ค. 61)

model-portfolio-01-2018

Model Portfolio เดือน ม.ค. 61 

กลับมาพบกับสรุป Model Portfolio ประจำเดือน ม.ค. 61 ซึ่งจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทั้ง…

  1. พอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
  2. พอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 31 ม.ค. 61

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 317,149.06 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาทแล้ว)
  • เดือน ม.ค. 61 กำไร เท่ากับ 7,393.15 บาท หรือ +2.42%
  • ผลตอบแทนสะสมปี 2561 (เดือนเดียว) จึงเท่ากับ 2.42%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน ม.ค. 61
    พอร์ต +2.42%  vs BM +3.38% ถือว่าแพ้ค่อนข้างมาก
    และเดือนนี้เป็นเดือนที่ BM ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด
    นับตั้งแต่ที่เริ่มสร้างพอร์ตนี้มาด้วย
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +12.20% vs BM +16.00% แพ้เท่ากับ -3.80%

จะเห็นว่าพอร์ตนี้สะสมค่า Negative Alpha หรือการแพ้ Benchmark เอาไว้เยอะถึง -3.80% เผื่อให้อยากเห็นเฉพาะผลลัพธ์ของปีนี้ ก็สามารถดูจากตารางและกราฟนี้เพิ่มเติมได้ครับ

03-2-benchmark

กราฟข้างบนเป็นการ Reset วันฐานในการวัดผลใหม่ มาเป็นปลายปี 2560 แทนที่จะเป็นตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. 59 ที่เริ่มตั้งพอร์ตครับ


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน ม.ค. 61

04-attribution-graph

ในเดือน ม.ค. 61 นี้ ผลตอบแทนของพอร์ตจริงได้น้อยกว่า Benchmark ค่อนข้างมาก เรามาวิเคราะห์ดูสาเหตุกันครับ ว่าเกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
    • สัดส่วนสินทรัพย์ต่างๆ ณ ปัจจุบันค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ Neutral แล้ว คือไม่ได้มีการ Take Active Decision ด้วยการลดหรือเพิ่มน้ำหนักในสินทรัพย์ใดมากเป็นพิเศษ ยกเว้น…
    • Foreign Stock ที่ยังมีการ Overweight อยู่ ซึ่งหากพิจารณา Foreign Stock Benchmark ซึ่งบวกถึง +5.13% ซึ่งถือว่าบวกมากที่สุดจากทุกสินทรัพย์ ก็ถือว่าการเลือก Overweight Foreign Stock ก็ทำได้ถูกต้อง (แต่ที่แพ้ เพราะปัจจัยด้าน Fund Selection ซึ่งอยู่ในข้อ 2 ที่จะเขียนถึงต่อไป)
    • Property ที่ Underweight  อยู่ ผมถือว่าไม่ได้พลาดอะไร เพราะน้ำหนักที่ลดลงนั้น เอาไปเพิ่มให้กับ Foreign Stock ซึ่งบวกแรงกว่า ก็ถือว่าตัดสินใจได้ถูกแล้ว
    • ถ้าใครอ่านการวิเคราะห์ระดับ TAA ของเดือนนี้แล้วจำได้ จะพบว่าผมเขียนเหมือนกับเดือนที่แล้วเป๊ะๆ เลย แสดงว่ามุมมองในเรื่องการปรับ Asset Weight ผมยังทำได้ค่อนข้างดีอยู่
  2. ระดับ Fund Selection
    • แม้การปรับพอร์ตในระดับ Asset Allocation จะทำได้ถูกต้อง แต่พอมาเลือกกองทุนเพื่อใช้ลงทุนจริง เดือนนี้กองที่เลือกไว้กลับให้ผลตอบแทนไม่ค่อยดี คือแพ้ Asset Benchmark ของตัวเอง ส่วนที่ทำได้ดีๆ ก็แค่เสมอ Asset Benchmark เท่านั้น
    • กองทุนที่ดึงพอร์ตอย่างเห็นได้ชัดก็คือ CIMB-PRINCIPAL GIF ซึ่งเดือนนี้ -3.88% สวนทางกับ Foreign Stock BM ซึ่ง +5.13%
    • ส่วนอีกกองที่ดึงพอร์ตมากเป็นอันดับสองก็คือ BTP ซึ่งเดือนก่อนหน้าขึ้นแรงมาก พอมาเดือนนี้ขึ้นแค่ +0.95% ทั้งๆ ที่ Thai Stock BM ขึ้นมากถึง +4.19%
    • กองอื่นๆ นั้นผมยังถือว่าเลือกมาใช้ลงทุนได้โอเคอยู่ครับ

โดยรวมพอร์ตเดือนนี้ การตัดสินใจระดับ Tactical Allocation ถืิอว่าทำได้ดีแล้ว แต่มาตายที่ Fund Selection (เหมือนเดือนที่แล้วมากเลย)


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

มุมมองผมยังค่อนข้างเหมือนกับ 2-3 เดือนที่ผ่านมามากๆๆ ดังนั้นขอ Copy ข้อความของเดือนก่อนมาให้อ่านกันเลยนะครับ

ถ้าใครได้ติดตามอัพเดทพอร์ตในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่าผมอยู่ในระหว่างการปรับพอร์ตเข้าสู่ค่ากลางคือเป็นสัดส่วนที่ไม่ Overweight หรือไม่ Underweight สินทรัพย์อะไรมากเกินไป โดยเฉพาะหุ้นที่แม้จะขึ้นมาร้อนแรง แต่ผมก็ไม่กล้าจะเพิ่มน้ำหนักเข้าไปให้มันแล้ว

เพราะหากดู Valuation หรือระดับความถูกแพง ก็ต้องบอกว่าแทบไม่มีตลาดหุ้นไหนที่เรียกว่า “ถูก” จะมีก็แค่ที่ไหน “ถูกกว่า” ที่ไหนเท่านั้น แต่ถ้ามองแบบสัมบูรณ์ (Absolute) แล้ว ก็ดูจะแพงไปเสียทั้งหมด นั่นเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าไม่ควรกระหยิ่ม เติมน้ำหนักเข้าไปในหุ้นอีก ณ ตอนนี้

แต่หากดู Momentum หรือ Trend ของราคาสินทรัพย์แล้ว สินทรัพย์แทบทุกประเภทก็ยังอยู่ในขาขึ้นอยู่ นั่นคือเราจะหนีไม่ลงสินทรัพย์เสี่ยงเลยมันก็ไม่ใช่เหมือนกัน

Neutral Position จึงเป็นสถานะพอร์ตที่ผมเลือก ซึ่งก็อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ แต่ยังไงก็ต้องเลือกจริงมั๊ยครับ

ยิ่งถ้ามาบวกกับข้อมูลผลตอบแทนล่าสุดของเดือน ก.พ. ไม่กี่วันมานี้ โดยเฉพาะวันศุกร์ที่  2 ซึ่งหุ้นต่างประเทศฝั่งตะวันตกลงกันหนักมาก ตามด้วยวันนี้ (5 ก.พ.) ซึ่งหุ้นไทยและหุ้นฝั่งเอเชียก็ลงหนักตามไปด้วย (ซึ่งว่ากันว่าเป็นเพราะ Yield ของสหรัฐฯ เริ่มปรับขึ้นอย่างชัดเจน)

ยิ่งยืนยันความคิดของผม ว่า Neutral Position น่าจะเป็นอะไรที่เหมาะกับสถานการณ์แบบนี้ และถ้าจะปรับที่ตรงไหน ผมก็ว่าการถือสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยเพิ่มไว้ก่อน ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร เพราะในเคสนี้ผมจะปรับแค่ส่วนของเงิน 5,000 บาทที่เข้าใหม่ ยังไม่ได้ไปปรับเงินของเก่า

ดังนั้นในเดือนนี้ ผมจึงขอนำเงินใหม่ 5,000 บาท ไปลงทุนในส่วนของ Thai Bond ซึ่งก็คือกอง K-FIXED ที่มีอยู่ในพอร์ตอยู่เดิม โดยยังไม่พิจารณาไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอะไรเพิ่มเติม

ด้านล่างนี้คือรายการที่ผมส่งคำสั่งเข้าไปครับ

06-transaction

ไว้เดือนต่อไปมาดูกันครับ ว่าพอร์ตจะเป็นยังไง


ทิ้งท้ายก่อนจาก

ผมเดาว่ามีหลายคน ไม่อ่านเนื้อหาข้างบน แต่เลื่อนลงมาดูรูปเจ้าของพอร์ตเพียงอย่างเดียวเพื่อความบันเทิงใจเป็นหลัก

เดือนนี้จึงขอเอาพัฒนาการล่าสุดของเธอมาให้ดูในรูปแบบวิดีโอ จะได้ยิ้มกันได้เต็มที่นะครับ เธอเริ่มเรียนรู้ว่าอยากได้ของอร่อยต้องทำอะไรก่อน อิอิ

แล้วเดือนหน้าเจอกันใหม่ครับ หวังว่าตลาดหุ้นจะยังไม่ถล่มเร็วๆ นี้ หรือถ้าจะลงก็ขอให้ลงแบบนุ่มๆ พอให้ได้ตั้งตัวกันหน่อยแล้วกันเนาะ

ปล. ช่วงนี้สัมมนา DIY Portfolio รุ่นที่ 4 ซึ่งเป็นสัมมนาที่สอนความรู้ที่ใช้กับ Model Portfolio พอร์ตนี้โดยตรง กำลังเปิดรับสมัครอยู่ ท่านใดสนใจสามารถศึกษารายละเอียดและสมัครเรียนได้โดยคลิก ที่นี่ นะครับ

 

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (ธ.ค. 60)

model-portfolio-12-2017

Model Portfolio เดือน ธ.ค. 60 พร้อมสรุปผลภาพรวมตลอดทั้งปี

กลับมาพบกับสรุป Model Portfolio ประจำเดือน ธ.ค. 60 ซึ่งเป็นทั้ง

  1. พอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
  2. พอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

เดือนนี้นอกจากจะมีการรีวิวพอร์ตรายเดือนดังเช่นที่ทำมาตลอด ในช่วงท้ายผมจะสรุปผลลัพธ์การลงทุนจริงเทียบกับแผนการลงทุนในภาพใหญ่ให้ดูด้วย เพราะเราไม่ได้ลงทุนเพียงเพื่อหวังผลตอบแทนปีต่อปีเท่านั้น แต่ยังลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะยาวด้วย


สถานะพอร์ต ณ 30 ธ.ค. 60

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 305,025.91 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาท และเงินปันผลจากกอง TMBPIPF ที่ได้รับมาระหว่างเดือนอีก 564.31 บาท แล้ว)
  • เดือน ธ.ค. 60 กำไร เท่ากับ 5,996.68 บาท หรือ +2.04%
  • ผลตอบแทนสะสมปี 2560 (เต็มปี) เท่ากับ 10.08%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน ธ.ค. 60
    พอร์ต +2.04%  vs BM +2.08% ถือว่าใกล้เคียงกันมาก
    เดี๋ยวไปดูกันครับว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +9.55% vs BM +12.21% แพ้เท่ากับ -2.66%

วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน ธ.ค. 60

04-attribution-graph

ในเดือน ธ.ค. 60 นี้ ผลตอบแทนของพอร์ตจริงได้ใกล้เคียงกับ Benchmark พอร์ตมาก เรามาแกะกันดูครับ ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
    • สัดส่วนสินทรัพย์ต่างๆ ณ ปัจจุบันค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ Neutral แล้ว คือไม่ได้มีการ Take Active Decision ด้วยการลดหรือเพิ่มน้ำหนักในสินทรัพย์ใดมากเป็นพิเศษ ยกเว้น…
    • Foreign Stock ที่ยังมีการ Overweight อยู่ ซึ่งหากพิจารณา Foreign Stock Benchmark ซึ่งบวกถึง +2.50% ซึ่งถือว่าบวกมาก ก็ถือว่าการตัดสินใจนี้เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง (แต่ดันไปตายที่ Selection)
    • Property ที่ Underweight  อยู่ ผมถือว่าไม่ได้พลาดอะไร เพราะน้ำหนักที่ลดลงนั้น เอาไปเพิ่มให้กับ Foreign Stock ซึ่งบวกแรงกว่า ก็ถือว่าตัดสินใจได้ถูกแล้ว
  2. ระดับ Fund Selection
    • ส่วนที่แย่คือกองทุนที่เลือกมาเป็นตัวแทนของ Foreign Stock ทั้งหมด ซึ่งแพ้ Foreign Stock Benchmark หมดทุกตัวเลยทั้ง TMBAGLF, KT-EURO, KF-GTECH, CPAM GIF  นั่นทำให้การ Overweight Foreign Stock ที่ควรจะได้ผลดี กลับส่งผลร้ายแทน T_T
    • พระเอกขี่ม้าขาวที่มาช่วยคือกองทุนหุ้นไทยทั้ง BTP และ KFDYNAMIC ซึ่งบวกขึ้นมาได้มากกว่า Thai Stock Benchmark พอสมควร

โดยรวมพอร์ตเดือนนี้ การตัดสินใจระดับ Tactical Allocation ถืิอว่าทำได้ดีแล้ว แต่มาตายที่ Fund Selection

ส่วนที่ผลตอบแทนบรรทัดสุดท้าย ยังสามารถสูสีกับ Benchmark ภาพรวมก็เพราะได้กองหุ้นไทย 2 กอง มาช่วยฉุดกองหุ้นต่างประเทศ 4 กองขึ้นมาจนหักล้างกันได้เกือบหมด


สรุปผลการลงทุนเทียบสินทรัพย์อื่นๆ ปี 2017 

08-2017-return

ทั้งปี 2017 นี้ พอร์ตได้ผลตอบแทนทั้งสิ้น 10.05% หากเทียบกับ Asset Benchmark ต่างๆ แล้ว จะเห็นว่า ชนะแค่ Thai Property และ Thai Bond เท่านั้น

แต่หากสมมติว่าบริหารได้เสมอ Benchmark ก็จะได้ผลตอบแทน 13.45% ซึ่งนอกจากจะชนะ Thai Prop, Thai Bond แล้ว ยังจะชนะทองคำด้วย

อย่างไรก็ตาม ดียังไง ก็แพ้ให้กับหุ้นล้วนแน่ๆ เพราะ US Stock ซึ่งผมใช้เป็น Foreign Stock Benchmark บวกถึง 21.9% และ Thai Stock บวกถึง 17.3% นั่นคือปีนี้ใครลงหุ้นล้วนๆ จะได้ผลตอบแทนดีกว่าพอร์ตแบบ Asset Allocation

ซึ่งตรงนี้อยากให้ทุกท่านที่ลงทุนเป็นพอร์ตแบบ Multi-Asset เข้าใจว่า นี่เป็นธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นเพราะถ้าเรารู้ว่าหุ้นจะดี เราก็คงอัดหุ้นหมดพอร์ตแล้ว แต่เพราะเราไม่รู้ เราจึงกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์อื่นด้วย เพราะในทางกลับกัน ถ้าเราอัดหุ้นหมดพอร์ต แล้วหุ้นมันตกหนัก พอร์ตก็จะตกหนักมากเหมือนกัน

แนวทางนี้จึงไม่ใช่แนวทางของเซียนหรือเทพที่เชืิ่อว่าตนกะเก็งตลาดได้แม่นยำนะครับ แต่เป็นวิธีการลงทุนแบบ Practical สำหรับคนธรรมดาได้ใช้ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีพอควร และไม่เสี่ยงมากมาย


สรุปผลการลงทุนเทียบสินทรัพย์อื่นๆ นับตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)

07-since-inception-return

ตำแหน่งก็จะยังคล้ายๆ เดิมนะครับ คือผลตอบแทนจะอยู่กลางๆ ชนะ Thai Property, Thai Bond, Gold แต่แพ้ให้หุ้น เพราะช่วง 2 ปีมานี้ หุ้นทั้ง US และ Thai เมื่อมองย้อนหลัง เป็นขาขึ้นค่อนข้างชัดเจน

แต่นอกจากมุมมองด้าน Return แล้วผมอยากชวนมองด้าน Risk ดูด้วย ซึ่งคงไม่ได้ใช้มาตรวัดเชิงวิชาการเช่น SD หรือ Sharpe มาอธิบายนะครับ แต่จะชวนให้ดูว่า ถ้าลงทุนจริงๆ มาตั้งแต่ ส.ค. 59 มีช่วงที่ผลตอบแทนลดลงไปต่ำกว่า 0% หรือต่ำกว่าทุนอยู่ลึก และนานมั๊ย ?

จะเห็นว่าพอร์ตทำได้ค่อนข้างดีนะครับ ผลตอบแทนช่วงแรกๆ เกาะๆ อยู่แถวทุน ลดก็ลดไม่มาก ไม่ถึง -2.0% ด้วยซ้ำ แต่พอจะดีขึ้นก็ดีขึ้นมาเป็น 9.55% ในระยะเวลา 1 ปี 4 เดือนได้ หน้าตาของผลตอบแทนแบบนี้ ผมเชื่อว่าจะมีคนจำนวนมาก สามารถที่จะอดทนต่อความผันผวนแล้วถือมาจนได้ผลตอบแทนเท่านี้ได้ไม่ยาก รวมทั้งถ้าจะให้ถือต่อไปก็น่าจะไม่ยากเช่นกัน

แต่ถ้าลองถือ Thai Property ล้วนๆ นะครับ แม้ถือมา 1 ปี 4 เดือนจะได้ผลตอบแทน 5.97% แต่เส้นทางนั้นผันผวนอย่างกับรถไฟเหาะตีลังกา ผันผวนแบบนี้น้อยคนครับ ที่จะทนไหว Gold ก็เช่นกัน ส่วน Thai Bond นั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะแม้จะแทบไม่ผันผวนเลย แต่ก็ได้น้อยมาก

การจัดพอร์ตแบบ Multi-Asset มันช่วยเรื่องความเสี่ยงตรงนี้แหละครับ คือมันทำให้ความผันผวนกลางทาง (Intra-Horizon Risk) ไม่ฆ่าเราทิ้งเสียก่อน

อย่างคนที่ถือหุ้นล้วนๆ เนี่ย ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนได้ไปจนสุดทางนะครับ เพราะความผันผวนทางบวก ก็ฆ่าเค้าทิ้งได้เหมือนกัน เช่นตื่นเต้นดีใจขายทิ้งไปเสียก่อน หรือเคยได้มาเยอะ สักพักพอร์ตดูนิ่งๆ เหมือนจะลงก็ขายไปเสียก่อน พอขายปุ๊บก็พุ่งปั๊บก็มี


สรุปผลการลงทุนเทียบกับแผนการลงทุนระยะยาว

หากยังจำกันได้ ในโพสแรก ซึ่งเป็นโพสเริ่มต้นของโปรเจ็ค Model Portfolio นี้ ผมได้ทำ Investment Path ซึ่งเป็นการคาดการณ์การเติบโตของเงินลงทุนในแผนนี้ไว้ให้ดู

09-compare-to-plan

ในโอกาสสิ้นปี ก็ขอนำผลการลงทุนจริง (Actual Result) มาเทียบคู่กัน ดังรูปด้านบน จะเห็นว่า

  • ณ ปลายปีที่ 1 คือปี 2559/2016 (ซึ่งลงทุนจริงเพียง 4 เดือน)
    หากทำได้ตามแผน พอร์ตควรจะมีมูลค่า 225,333 บาท แต่ Actual Result ได้มา 219,036 บาท ซึ่งน้อยกว่าแผนอยู่ 6,297 บาท นั่นเพราะปีแรกของการลงทุน พอร์ตจริงได้ผลตอบแทน -0.49% เทียบกับแผนซึ่งควรจะได้ +2.7% (เลข 2.7% มาจากการเทียบบรรญัติไตรยางค์ ผลตอบแทน 8% ต่อปี ให้เหลือเพียง 4 เดือน)
  • ณ ปลายปีที่ 2 คือปี 2560/2017
    หากทำได้ตามแผน พอร์ตควรจะมีมูลค่า 303,360 บาท แต่ Actual Result ได้มา 305,026 บาท ซึ่งมากกว่าแผนอยู่ 1,666 บาท นั่นเพราะปีนี้ ผลตอบแทนที่ได้จริงคือ +10.08% ซึ่งมากกว่าแผนที่วางไว้ที่ 8.0%

จะเห็นว่าปีแรกต่ำเป้า ปีที่สองเกินเป้า รวมกันสองปีก็สูสีกับเป้า นี่คือหน้าตาของ Actual Result ในการลงทุนสินทรัพย์การเงินที่ผมอยากให้ทุกคนเห็นภาพเลยครับ คือมันจะไม่ใช่ว่าหวัง 8% แล้วได้ 8% ทุกๆ ปี อย่างนี้ไม่มีทาง เพราะ 8% เป็นค่าคาดหวัง เป็นค่ากลางที่ควรจะได้หากลงทุนต่อเนื่องไปยาวๆ ในผลลัพธ์จริงๆ เราจะได้ต่ำกว่าค่านี้บ้าง สูงกว่าค่านี้บ้าง ก็ต่อสู้ดูแลพอร์ต ปรับพอร์ตกันไป (หรือจะไม่ปรับพอร์ต รักษา SAA ที่ถูกต้องไว้ แล้วหันมาดูแลใจแทนก็ได้นะครับ)

จะเห็นว่า จาก 19 ปีในตาราง เราเพิ่งเดินผ่านมาเพียง 2 ปีเท่านั้น หากถือเป็นการคัดเส้นประ ซึ่งมีจุดอยู่ 19 จุดที่ต้องลากผ่าน เราก็เพิ่งจะลากเส้นทึบทับลงไปบนเส้นประ (ซึ่งก็คือแผน) ได้เพียงนิดเดียวเท่านั้น

ผมไม่รู้ว่าทุกท่านจะเห็นความเป็นไปได้รึเปล่า ว่าเราจะพาพอร์ตนี้ไปสู่เป้าหมาย 4 ล้านบาทตามที่ตั้งไว้ได้ แต่อยากให้ท่านเห็นนะครับ พอร์ตมันจะใหญ่ได้ มันก็เริ่มจากเล็กก่อนแบบนี้แหละถูกแล้ว

ที่ผมแบ่งเงินส่วนเล็กๆ มาทำพอร์ตให้ดู แทนที่จะใส่เงินมามากกว่านี้ ก็เพื่อสร้างตัวอย่างที่น่าจะใกล้เคียงกับผู้อ่านหลายๆ ท่าน ซึ่งไม่ได้ร่ำรวยหรือมีพอร์ตใหญ่ตั้งแต่เริ่ม ให้ได้เห็นความเป็นไปได้ จะได้ทำกัน

อย่างน้อย 2 ปีที่ผ่านมา เราก็ทำมาได้แล้ว ที่เหลือก็แค่รักษาวินัย เพิ่มพูนทักษะ ดูแลบริหารจัดการพอร์ตต่อไป ซึ่งก็จะถูกบ้างผิดบ้าง เหมือนที่ผมเอามาเขียนเล่าทุกเดือนนั่นแหละครับ เพราะขึ้นชื่อว่าการลงทุน ไม่มีอะไรแน่นอนอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่เรามีอำนาจควบคุม 100% อย่าพลาดก็แล้วกัน ในที่นี่ก็คือ เงินที่ใส่เพิ่ม เพราะใน 16 เดือนที่ผ่านมา ผมไม่เคยพลาดการเติมเงินเดือนละ 5,000 บาทเข้ามาในพอร์ตเลยนะครับ และเช่นกัน ก็ไม่มีการนำเงินออกไปไหนด้วย

เพราะในการลงทุนเพื่อเป้าหมายนั้น ใช่ว่าจะอาศัยพลังจากดอกเบี้ยทบต้นอย่างเดียวได้ หลายๆ ครั้งเงินลงทุนตั้งต้นไม่ใหญ่ เวลาไม่นานพอ มันก็ต้องเติมเงินด้วย ดังแผนนี้ที่ผมเลือกมาสาธิตให้ดูเป็นต้น

ดังนั้น อย่าพลาดในสิ่งที่เรามีอำนาจควบคุมนะครับ ส่วนเรื่องของการบริหารจัดการพอร์ตนั้น ผมสัญญาว่าจะอัพเดทให้ดูไปจนครบ 19 ปีของแผนแน่ๆ ครับ


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

ถ้าใครได้ติดตามอัพเดทพอร์ตในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่าผมอยู่ในระหว่างการปรับพอร์ตเข้าสู่ค่ากลางคือเป็นสัดส่วนที่ไม่ Overweight หรือไม่ Underweight สินทรัพย์อะไรมากเกินไป โดยเฉพาะหุ้นที่แม้จะขึ้นมาร้อนแรง แต่ผมก็ไม่กล้าจะเพิ่มน้ำหนักเข้าไปให้มันแล้ว

เพราะหากดู Valuation หรือระดับความถูกแพง ก็ต้องบอกว่าแทบไม่มีตลาดหุ้นไหนที่เรียกว่า “ถูก” จะมีก็แค่ที่ไหน “ถูกกว่า” ที่ไหนเท่านั้น แต่ถ้ามองแบบสัมบูรณ์ (Absolute) แล้ว ก็ดูจะแพงไปเสียทั้งหมด นั่นเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าไม่ควรกระหยิ่ม เติมน้ำหนักเข้าไปในหุ้นอีก ณ ตอนนี้

แต่หากดู Momentum หรือ Trend ของราคาสินทรัพย์แล้ว สินทรัพย์แทบทุกประเภทก็ยังอยู่ในขาขึ้นอยู่ นั่นคือเราจะหนีไม่ลงสินทรัพย์เสี่ยงเลยมันก็ไม่ใช่เหมือนกัน

Neutral Position จึงเป็นสถานะพอร์ตที่ผมเลือก ซึ่งก็อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ แต่ยังไงก็ต้องเลือกจริงมั๊ยครับ

เอาล่ะ หากใครโหลดไฟล์ Excel ไปจะเห็นว่า Weight ของ Gold ในพอร์ตผมมันแหว่งๆ อยู่ เนื่องจาก SAA ตั้งไว้ว่าจะมีประมาณ 10% ของพอร์ต แต่ตอนนี้มีแค่ 8.3%

ดังนั้นในเดือนนี้ ผมจึงขอนำเงินใหม่ 5,000 บาท และเงินปันผลอีก 564.31 บาทที่ได้รับมาจากกอง TMBPIPF ในเดือนก่อน มาลงทุนเติมเข้าไปในทองคำ ซึ่งก็ยังใช้กอง TMBGOLDS อยู่เช่นเดิม

และนี่คือรายการที่ผมส่งคำสั่งเข้าไปครับ

06-transaction

ไว้เดือนต่อไปมาดูกันครับ ว่าพอร์ตจะเป็นยังไง


ทิ้งท้ายก่อนจาก

อ่านมาตั้งยาว หลายท่านอาจจะรู้สึกว่าสรุปพอร์ตเดือนนี้มันขาดอะไรไป

.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.

คำตอบก็คืออัพเดทรูปของเจ้าของพอร์ตตัวจริงนั่นเองครับ

ผมขอเอามาโพสไว้ท้ายบทความแทน เผื่อว่าอ่านบทความมายาวๆ มึนๆ จะได้จบแบบยิ้มๆ เพราะเธอน่ารักจริงๆ ตอนนี้เดินเก่งมากกกกกกก พูดเก่งมากกกกก และ กินเก่งมากกกกกก

s__76595253

s__76595254

s__76595256

s__76595257

สวัสดีปีใหม่ 2561 ทุกท่านนะครับ ^__^

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (พ.ย. 60)

model-portfolio-11-2017

Model Portfolio เดือน พ.ย. 60

กลับมาพบกับสรุป Model Portfolio ประจำเดือน พ.ย. 60 ซึ่งเป็นทั้ง

  1. พอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
  2. พอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

โดยตั้งแต่เดือนที่แล้ว ผมตั้งใจเขียนให้กระชับขึ้น เพราะได้เขียนบรรยายแบบละเอียดมาหลายเดือนแล้ว เดือนนี้ก็จะยังเน้นให้กระชับเหมืิอนเดือนนะครับ

และก็ยังไม่ทิ้งธรรมเนียม การอวดลูกสาว ซึ่งเป็นเจ้าของพอร์ตตัวจริง เดือนนี้เอามาเป็นวิดีโอให้ดูครับ เธอเริ่มหยิบอะไรกินเองด้วยมือได้แล้ว ผมก็ยาวติดกิ๊บได้ด้วย น่าร้ากกก ^__^

ป่ะ… มาเข้าเรื่องกันดีกว่า


สถานะพอร์ต ณ 30 พ.ย. 60

ต้องแจ้งให้ทราบก่อน เพราะหลายท่านอาจจะงง ว่าทำไมข้อมูล NAV หรือข้อมูลราคาดัชนี Benchmark ต่างๆ มันไม่ตรงกับที่ท่านทำเอง นั่นเพราะผมใช้ราคา NAV และข้อมูลราคาทุกอย่าง ที่กดดูได้ในวันถัดจากวันสิ้นเดือน ในกรณีเดือนนี้ก็คือวันที่ 1 ธ.ค. 60

ซึ่งในวันที่ 1 ธ.ค. 60 นั้น ข้อมูล NAV ของกองต่างประเทศส่วนใหญ่จะยังเป็นข้อมูลของวันที่ 28-29 พ.ย. 60 อยู่ ดังนั้นอาจจะมีคลาดเคลื่อนกันนิดหน่อยนะครับ สาเหตุเพราะผมอยากจะตัดสินใจลงทุนในวันทำการแรกๆ ของเดือน จึงเลือกใช้วิธีการแบบนี้ และทำมาตลอดตั้งแต่เดือนแรกที่อัพเดท Model Portfolio นี้ครับ

เช่นเคย ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 294,029.23 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาท)
  • เดือน พ.ย. 60 ขาดทุน เท่ากับ 2,096.68 บาท หรือ -0.72%
    ถือเป็นการขาดทุนรายเดือนครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
  • ผลตอบแทนสะสมปี 2560 (11 เดือน) เท่ากับ 7.88%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน พ.ย. 60
    พอร์ต -0.72%  vs BM +0.27% แพ้ Benchmark เท่ากับ -0.99%
    ถือว่าแพ้เยอะทีเดียว เพราะผลตอบแทนกลับทิศกลับทางกัน
    ซึ่งเดี๋ยวต้องมาดูว่าเพราะอะไร
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +7.36% vs BM +9.92% แพ้เท่ากับ -2.56%

วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน พ.ย. 60

04-attribution-graph

ในเดือน พ.ย. 60 นี้ หากจัดพอร์ตและลงทุนได้ตาม Benchmark เป๊ะๆ ควรจะได้ผลตอบแทนประมาณ 0.27% แต่ที่พอร์ตให้ผลตอบแทนกลับทิศกลับทางและแพ้ Benchmark ค่อนข้างมากนั้นเกิดจาก

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
    • เดือนนี้ไม่ได้มีอะไรผิดพลาดมาก
      เพราะสินทรัพย์ส่วนใหญ่ยกเว้นหุ้นไทย ให้ผลตอบแทนเป็นบวก
      ดังนั้นจะ Over/Underweight ยังไง ก็น่าจะมีกำไรอยู่
      เพียงแค่จะมากหรือน้อยกว่า BM เท่านั้น
    • ส่วนหุ้นไทยที่ตัดสินใจ Neutral Weight
      แล้วปรากฎว่า Thai Stock BM ติดลบไป -1.31% นั้น
      ก็ไม่ควรเอามาคิด ว่าเราตัดสินใจผิด
      เพราะเป็นส่วนที่ถือว่าไม่ได้ Make Active Decision อะไร
      เนื่องจากไม่ได้เพิ่มหรือลดสัดส่วนหุ้นไทยเลย เมื่อเทียบกับแผนระยะยาว
  2. ระดับ Fund Selection
    • BTP และ KFDYNAMIC คือสองกองที่ฉุดพอร์ตอย่างรุ่นแรง
      เพราะ Thai Stock BM ติดลบเพียง -1.31%
      แต่สองกองนี้ลบไป -4.91% และ -3.93% ตามลำดับ
      ซึ่งสาเหตุก็คงเพราะขึ้นมามาก พอเจอเดือนที่ปรับฐานก็เลยลบเยอะหน่อย
    • ส่วนหุ้นต่างประเทศก็มีที่ฉุดพอร์ตบ้างคือ KT-EURO (หุ้นยุโรป) และ KF-GTECH (หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก) ซึ่งให้ผลตอบแทนติดลบเมื่อเทียบกับ Foreign Stock BM (ผมเลือกใช้หุ้นสหรัฐ ดัชนี S&P500 TRI) แต่ก็ยังมี TMBAGLF (หุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น) ที่ช่วยอยูุ่เพราะบวกเยอะ +3.72% ถือว่าน่าจะหักล้างกันได้เกือบหมด

โดยรวมพอร์ตเดือนนี้ เสียหายเพราะ Fund Selection เป็นหลัก จากกองหุ้นไทยแบบ Active คือ BTP และ KFDYNAMIC ซึ่งเมื่อขึ้นมาแรง เวลาลงก็เลยแรงด้วย 

อย่างไรก็ตาม ผมได้รับคำถามว่าแล้วต้องเปลี่ยนกองเลยมั๊ย ?

ก็ต้องบอกว่าดูเดือนเดียวแล้วเปลี่ยนมันก็โหดร้ายกับกองมากเกินไป เพราะตอนเลือกเราก็ดูทั้งผลตอบแทนระยะยาว ระยะสั้น ดูความสม่ำเสมอ จนเราเชื่อว่ากองมันดี เราถึงตัดสินใจลงทุน

ผมขอเอาข้อมูลภาพใหญ่มาให้ดู ในเชิงเปรียบเทียบกับ SCBSET โดยถือว่า SCBSET เป็นตัวแทนของผลตอบแทนของ SET Index รวมเงินปันผล ตามตารางด้านล่างนี้นะครับ

comparison

จะเห็นว่า BTP หากดูผลตอบแทน ต่ำกว่า 3 ปีลงมา ก็ถือว่าแผ่วจริง แต่บุญเก่าคือผลตอบแทนระยะยาว 3 ปี 5 ปี ก็ยังถือว่าสูงกว่า SET มาก จนผมคิดว่าน่าให้โอกาสต่อไปอยู่ ไว้ถ้ามันแย่จริงๆ ต่อเนื่องค่อยเปลี่ยนก็ได้

ส่วน KFDYNAMIC จะเห็นว่าก็เพิ่งมาแผ่วเอาตรงผลตอบแทนระยะสั้นๆ 1 เดือนมานี้เอง ส่วนผลตอบแทนระยะอื่นๆ ก็โดดเด่นกว่า SET จนผมยังไม่คิดว่าควรจะเปลี่ยนอะไร ดูๆ กันไปได้อีกหลายเดือนครับ

 


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

ก่อนจะไปดูว่าเดือนนี้ผมปรับพอร์ตยังไง ขอนำประวัติการปรับพอร์ตในภาพใหญ่ตลอด 15 เดือนที่ผ่านมา มาทบทวนให้ทุกท่านดูกันก่อนสักเล็กน้อย ดังกราฟด้านล่างนะครับ

05-aa-history

จากกราฟจะเห็นว่าตลอดช่วงการลงทุนที่ผ่านมา ผมมีการค่อยๆ เพิ่มหุ้นไทย (สีส้ม) และหุ้นต่างประเทศ (สีแดง) มาเรื่อยๆ โดยสินทรัพย์ส่วนที่ลดลงจะเป็นตราสารหนี้ไทย (สีฟ้าอ่อน)

ซึ่งก็ถือว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง เพราะในช่วงที่ผ่านมานั้น หุ้นทั้งไทยและเทศต่างก็ให้ผลตอบแทนที่ดี ดีจนรู้สึกว่าน่ากลัว ทำให้เดือนที่แล้วผมตัดสินใจนำเงินใหม่ไปพักไว้ในตราสารหนี้ (K-FIXED) โดยไม่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงกลุ่มอื่นๆ เพื่อปรับให้พอร์ตมีความเสี่ยงลดลง ใกล้เคียงกับแผนระยะยาว (SAA) มากขึ้น ลองสังเกตนะครับว่ากราฟสีฟ้าอ่อนมันเชิดหัวขึ้นนิดนึง ซึ่งเป็นผลจากการปรับพอร์ตเดือนนี้แล้ว

เดือนนี้ก็อีกเช่นกัน ผมตัดสินใจเอาเงิน 5,000 บาท ไปพักไว้ในกองตราสารหนี้คือ K-FIXED อีกเช่นเคย ส่วนกองเก่าๆ ก็ให้มันทำงานไป ดังเช่นที่เขียนไว้เมื่อเดือนก่อนว่า “หากเดือนหน้าภาวะตลาดยังเป็นแบบนี้อยู่ ก็อาจจะปรับแบบเดียวกัน คือปรับพอร์ตเข้าสู่ Strategic Weight มากขึ้น ค่อยๆ ลดหุ้นส่วนที่ Overweight ลง แต่แทนที่จะลดด้วยการขาย เราลดด้วยการที่ไม่นำเงินใหม่ไปซื้อเพิ่มแทนครับ

ก็ถือว่าผมยังตัดสินใจตามเดิม ที่คิดไว้เมื่อเดือนที่แล้วนะครับ ส่วนด้านล่างคือสรุปการทำรายการเดือนนี้ครับ

06-transaction