Category Archives: Taking Actions

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (เม.ย. 62)

model-portfolio-2019-04

พอร์ตสาธิต เดือน เม.ย. 62

กลับมาพบกับสรุปพอร์ตสาธิตประจำเดือน เม.ย. 62 กันนะครับ

พอร์ตสาธิตนี้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
    (ดังนั้นถ้าบางท่านอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเนื้อหาเหล่านี้
    ผมสอนไว้ในหลักสูตร DIY ซึ่งไม่ได้มีวิดีโอให้ดูใน YouTube นะครับ)
  2. เป็นพอร์ตที่ตั้งใจจะสาธิตการตัดสินใจลงทุนแบบ Active ในหลายๆ มิติ เช่น Tactical Asset Allocation และ Fund Selection โดยพร้อมรับความเสี่ยงกรณีที่มีการตัดสินใจผิดพลาด (พอร์ตหลักอื่นๆ ของผม รวมทั้งพอร์ตของลูกค้า Avenger Planner ส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ตัดสินใจ Active ลักษณะเดียวกันกับพอร์ตนี้)
  3. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 30 เม.ย. 62

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 379,038.16 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาทแล้ว)
  • เดือน เม.ย. 62 กำไร เท่ากับ 5,294.35  บาท หรือ +1.44%
    โดยราคาสินทรัพย์ต่างๆ ยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดกัน นับจากต้นปี

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน เม.ย. 62
    พอร์ต +1.44% vs BM +1.87% แพ้ Benchmark อยู่ -0.43%
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +7.17% vs BM +22.20% แพ้เท่ากับ -15.03%

หากพิจารณาตั้งแต่เริ่มลงทุน จะถือเป็นการแพ้สะสมที่สูงมาก ซึ่งก็เกิดจากเหตุผลหลักๆ ดังนี้

  1. เลือกกองทุนผิด (Selection)
  2. ปรับพอร์ตระยะสั้น-กลางผิด (TAA)
  3. เสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และค่าบริหารกองทุน
  4. การเลือก Benchmark ที่ไม่เหมาะสม

ใน 2 ประเด็นแรกนั้น ผมได้เคยพูดถึงและอธิบายไปในสรุปพอร์ตของเดือนก่อนๆ อยู่บ่อยครั้งแล้ว ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดที่ต้องเรียนรู้และปรับปรุงต่อไป

ในประเด็นที่ 3 เรื่องค่าธรรมเนียมนั้น ส่วนของค่าบริหารจัดการคงจะเลี่ยงได้ยาก เพราะมีค่าธรรมเนียมนี้กันทุกกอง แต่ในส่วนของค่าธรรมเนียมการซื้อขาย หากไม่ปรับพอร์ตบ่อยเกินไปก็พอจะเลี่ยงได้บ้าง ซึ่งในการตัดสินใจต่างๆ ผมก็จะคำนึงถึงค่าใช้จ่ายตรงนี้ร่วมด้วย นั่นคือจะไม่ปรับพอร์ตพร่ำเพรื่อ โดยไม่ได้มีเหตุผลที่เชื่อมั่นจริงๆ

ในประเด็นที่ 4 คือเรื่องการเลือก Benchmark นั้น เดิมที่สินทรัพย์ในกลุ่มอสังหาฯ ผมหา Benchmark ที่เหมาะสมมาคำนวณไม่ได้ จึงใช้ผลตอบแทนของกอง M-PROPERTY มาเป็น Benchmark ซึ่งไม่ค่อยเหมาะนัก เพราะกลายเป็นว่า ผมไม่ได้กำลังเทียบผลตอบแทนกับสินทรัพย์ แต่กำลังเทียบผลตอบแทนกับฝีมือของผู้จัดการกองทุน M-PROPERTY อยู่

ซึ่งโชคดีที่ปัจจุบัน ดัชนี PF&REIT TRI ซึ่งเป็นดัชนีที่ผมคิดว่าเหมาะจะใช้เป็น Benchmark มากกว่านั้น มีเผยแพร่ให้สามารถนำมาใช้ได้ฟรีแล้ว ที่ลิ้งค์นี้  ดังนั้น ตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 เป็นต้นไป ผมจึงขอเปลี่ยน Benchmark ของพอร์ตในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ มาเป็นดัชนี PF&REIT TRI แทนครับ

ในส่วนของ Benchmark นั้น หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2019 ก็จะดูเข้าใจง่ายขึ้น ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM กำไร +9.23% แต่พอร์ตกำไรแค่ +5.43% แพ้อยู่ -3.80% ซึ่งถือเป็นการแพ้ BM ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่นับตั้งแต่เริ่มปี 2019 มา

สาเหตุของการแพ้เดือนล่าสุดคืออะไร ในหัวข้อต่อไป จะมีคำตอบให้ครับ


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน เม.ย. 62

slide1

จากกราฟ Performance Attribution (อย่างง่าย) ด้านบน เราสามารถวิเคราะห์ดูสาเหตุได้ครับ ว่าสาเหตุของการที่พอร์ตแพ้ BM ในเดือนนี้นั้น เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
  • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน จะเห็นว่าเดือนนี้ Asset Benchmark ส่วนใหญ่ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือน มี.ค. 62
  • สรุปผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในเดือน เม.ย. 62 เป็นดังนี้
    • ตราสารหนี้ไทย +0.02%
    • อสังหาไทย +1.38% 
    • หุ้นไทย +2.20%
    • หุ้นต่างประเทศ +4.65% (บวกเยอะมาก)
    • ทองคำ -0.70%
  • ซึ่งในการตัดสินใจลงทุนจริงนั้น ตั้งแต่ต้นปี ผมได้ปรับสัดส่วนหุ้นต่างประเทศให้มาอยู่ที่ระดับ Neutral ซึ่งก็ถือว่าดี เพราะปีนี้หุ้นต่างประเทศให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นไทยมาก ในเดือนล่าสุดนี้ก็ยังบวกต่อ และบวกดีกว่าหุ้นไทย
  • ในขณะที่หุ้นไทยผมมีสถานะ Underweight ค่อนข้างมาก ถือเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดีหากมองเฉพาะเดือนนี้ เพราะเป็นเดือนที่หุ้นไทยกลับมาฟื้นตัวได้ดี แต่พอร์ตกลับมีสัดส่วนหุ้นไทยน้อยกว่าสัดส่วนใน SAA
  • นอกจากหุ้นต่างประเทศที่ปรับสัดส่วนขึ้นมาสู่ระดับ Neutral ผมเองก็ได้ปรับอสังหาฯ ขึ้นมาเกือบๆ จะ Neutral ด้วย (Weight จริง 23.5% vs Weight ตามแผน 25%) การตัดสินใจนี้ก็ถือว่าดีพอใช้ได้ เพราะปีนี้อสังหามาแรงจริงๆ บวกแล้วบวกอีก เดือนนี้ก็บวกต่อ
  • ต้อง Remark ไว้ตัวใหญ่ๆ ว่า นี่เป็นเพียงการอ่านผลรายเดือน ซึ่งก็สะท้อนแค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ เท่านั้น ผมนำมันมาใช้ตัดสินใจบ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนในการตัดสินใจปรับพอร์ต จะใช้การประเมินโดยเน้นการมองไปข้างหน้า (Forward-Looking) เป็นหลัก

2. ระดับ Fund Selection

  • ในระดับนี้เราจะเจาะเข้ามาดูกองที่เลือกไว้กันว่า เมื่อเทียบกับ Asset BM แล้ว กองทำได้ดีร้ายอย่างไร
  • หากอ่านที่คอลัมน์ Selection จะเห็นว่าเดือนนี้มีกองที่ Overperformed ตัว Asset BM อยู่เพียง 3 กอง นั่นคือ K-FIXED, 1AMSET50-RA  และ CIMB-PRINCIPAL GOPP-A เท่านั้น
  • ขณะที่กองที่เหลือ ทำผลตอบแทนได้ด้อยกว่า BM ของแต่ละสินทรัพย์
  • โดยสรุปในระดับ Fund Selection นี้ก็ถือว่าผิดมากกว่าถูกครับ

โดยรวม การตัดสินใจทั้งสองขั้นคือ TAA และ Selection นั้น ผลลัพธ์การลงทุนในเดือน เม.ย. 62 ผมคิดว่าผมพลาดทั้งสองขั้น คือในระดับของสัดส่วนสินทรัพย์ (TAA) นั้นผมพลาดๆ หลักๆ ที่ไป Underweight หุ้นไทยมากเกินไป 

ส่วนของ Selection นั้น ก็ถือว่าพลาดก็ได้ครับ เพราะเมื่อเทียบกับ Asset BM ของแต่ละกอง มีเลือกถูก 3 กอง ผิด 4 กอง เสมอ 1 กอง


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

เดือนนี้จะเป็นเดือนแรกของปี 2019 ที่ผมจะเริ่มขยับพอร์ตในทิศทางใหม่ จากเดิมที่กดสัดส่วนหุ้นไทย ให้ Underweight ไว้มาก เดือนนี้ผมจะเริ่มสะสมหุ้นไทยเพิ่ม แต่จะยังไม่สะสมมากจนถึงขั้นปรับไปที่ Neutral Weight

หรือพูดอีกแบบคือปรับจากโหมดที่กลัวมาก เป็นกลัวน้อยลง

สาเหตุสำคัญของการตัดสินใจนี้เพราะผมให้น้ำหนักกับแนวโน้มราคาของหุ้นไทยและหุ้นประเทศอื่นๆ เป็นหลัก มากกว่าจะดูที่ข่าวสารหรือปัจจัยประกอบอื่นๆ เช่น ผลการเลือกตั้ง

slide2

โดยจากตารางสรุปแนวโน้มราคาสินทรัพย์ด้านบน จะเห็นว่าราคาสินทรัพย์ส่วนใหญ่ แสดงคำว่า “Up” คือมีราคาปัจจุบัน สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 Week (100 วัน) และ 40 Week (200 วัน)

ซึ่งผมตีความว่าอารมณ์ตลาดโดยรวมค่อนข้างดี แนวโน้มราคาสินทรัพย์ทั้งหลายอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งอันที่จริงมันก็เป็นลักษณะนี้มาได้สัก 2-3 เดือนแล้ว ยกเว้นก็แต่หุ้นไทย ที่ยังไม่ค่อย “Up” แบบยืนค้างได้นานเหมือนหุ้นประเทศอื่นเสียที

แต่ ณ จุดที่ตัดสินใจนี้ หุ้นไทยก็ยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 20/40 Week มาได้หลายสัปดาห์แล้ว น่าจะพอไปต่อได้ล่ะ ดังนั้นผมจะขอลดความกลัวในหุ้นไทยลงจากกลัวมาก => มาสู่กลัวน้อย

โดยมีแผนในการปรับพอร์ตดังรูปนี้

rebalance

ลองเทียบ Weight ในคอลัมน์ Current กับคอลัมน์ Target นะครับ หลักๆ ผมจะปรับดังนี้ครับ

  • ลด Weight ตราสารหนี้ไทยและเงินสดลงราว 6% จาก 27.1% เป็น 21.1%
  • โดย Weight 6% ที่ลดไปจะนำมาเพิ่มให้หุ้นไทย ขยับจาก 18.6% เป็น 24.6% ซึ่งแม้จะเพิ่มขึ้นมาแล้ว ก็ยังมี Weight น้อยกว่า SAA Weight ซึ่งกำหนดไว้ที่ 30% อยู่ คือยังอยู่ในสถานะ Underweight นั่นเอง แต่แค่ “Slightly” เท่านั้น

ในเชิงธุรกรรมที่ทำจริง ผมจะทำดังนี้ครับ

transaction

ธุรกรรมจะมี 3 + 1 ธุรกรรม

  1. ทำรายการซื้อกอง 1AMSET50-RA ด้วยเงินสด ซึ่งเป็นเงินลงทุนเพิ่มของเดือนนี้ยอด 5,000 บาท จะเพิ่ม Weight หุ้นไทยขึ้นมา 1.3%
  2. ทำรายการสับเปลี่ยนกอง K-FIXED ซึ่งเป็นตราสารหนี้ไทย
    ไปยังกอง 1AMSET50-RA จำนวน 625.6895 หน่วย หรือเป็นเงินราว 7,729.08 บาท จะเพิ่ม Weight หุ้นไทยขึ้นมา 2.1%
  3. ทำรายการสับเปลี่ยนกอง K-FIXED ซึ่งเป็นตราสารหนี้ไทย
    ไปยังกอง KFDYNAMIC จำนวน 809.5265 หน่วย หรือเป็นเงินราว 10,000 บาท จะเพิ่ม Weight หุ้นไทยขึ้นมา 2.6%

รวม 3 ธุรกรรมแรก จะเพิ่ม Weight หุ้นไทยทั้งสิ้น 1.3 + 2.1 + 2.6 = 6.0%

โดยจะยังคงพยายามรักษาสัดส่วนหุ้นไทยในพอร์ตให้เป็นสัดส่วนประมาณ 50% หุ้นไทย (1AMSET50-RA) และ 50% หุ้นกลาง-เล็ก (KFDYNAMIC)

ส่วนอีก 1 ธุรกรรมแถม คือเดือนนี้ผมตัดสินใจบอกลากอง K-FIXED ซึ่งใช้มานาน ไปซบอกกอง TMBABF แทน หลักๆ เพราะผลตอบแทนของกอง TMBABF ที่ผมคิดว่าน่าจะมีโอกาสได้มากกว่า เพราะแม้จะเป็นกองตราสารหนี้ระยะกลางเหมือนกัน แต่กลยุทธ์การลงทุนของ TMBABF ยืดหยุ่นกว่า โดยเฉพาะในส่วนของการลงทุนไปต่างประเทศ

ผลตอบแทนในอดีตที่ผ่านมาก็ค่อนข้างสะท้อนสิ่งนั้น

compare-thaibond

ธุรกรรมสุดท้าย จึงเป็นการสับเปลี่ยนกอง K-FIXED ที่เหลืออีก 6,476.2118 หน่วย ไปยังกอง TMBABF ทั้งหมดครับ


ส่งท้าย

ผ่านมา 4 เดือนของปี กลายเป็นว่าปีนี้ใครที่ลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงแบบหนักหน่อย กลับได้ผลตอบแทนค่อนข้างดี

ซึ่งมันช่างแตกต่างจากบรรยากาศและข่าวสารรอบๆ ตัว ที่ออกไปในโทนให้ระมัดระวังเสียมากกว่า

อาการแบบนี้แหละครับ ที่คนที่มี SAA เป็นแกนกลางของพอร์ต จะยังได้ประโยชน์อยู่ เพราะแม้จะมีการปรับลดน้ำหนักหุ้นลงไปบ้าง แต่ก็จะยังไม่ได้ทิ้งหุ้นไปหมดเสียทีเดียว เพราะมีแกนกลางของพอร์ตดึงไว้ ไม่ให้กลัวจนเกินไป

ยังไงเสีย เราก็ต้องมาลุ้นกันต่อไปครับ ว่าผลตอบแทนดีๆ ในช่วงนี้ มันจะยังดีต่อไปได้อีกสักแค่ไหน เพราะนี่ก็ขึ้นมา 4 เดือนติดแล้ว

เดือนหน้าจะลง ผมก็ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแล้วล่ะครับ

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (มี.ค. 62)

model-portfolio-2019-03

พอร์ตสาธิต เดือน มี.ค. 62

กลับมาพบกับสรุปพอร์ตสาธิตประจำเดือน มี.ค. 62 กันนะครับ

พอร์ตสาธิตนี้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
    (ดังนั้นถ้าบางท่านอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเนื้อหาเหล่านี้
    ผมสอนไว้ในหลักสูตร DIY ซึ่งไม่ได้มีวิดีโอให้ดูใน YouTube นะครับ)
  2. เป็นพอร์ตที่ตั้งใจจะสาธิตการตัดสินใจลงทุนแบบ Active ในหลายๆ มิติ เช่น Tactical Asset Allocation และ Fund Selection โดยพร้อมรับความเสี่ยงกรณีที่มีการตัดสินใจผิดพลาด (พอร์ตหลักอื่นๆ ของผม รวมทั้งพอร์ตของลูกค้า Avenger Planner ส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ตัดสินใจ Active ลักษณะเดียวกันกับพอร์ตนี้)
  3. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 29 มี.ค. 62

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 368,743.81 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาท และเงินปันผลจากกอง CIMB-PRINCIPAL iPROP-A ซึ่งจะเข้าบัญชีวันที่ 5 เม.ย. ยอด 938.02 บาท แล้ว)
  • เดือน มี.ค. 62 กำไร เท่ากับ 1,870.31  บาท หรือ +0.52%
    โดยราคาสินทรัพย์ต่างๆ ยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดกัน นับจากต้นปี

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน มี.ค. 62
    พอร์ต +0.52% vs BM +1.45% แพ้ Benchmark อยู่ -0.93%
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +5.65% vs BM +19.96% แพ้เท่ากับ -14.31%

หากพิจารณาตั้งแต่เริ่มลงทุน จะถือเป็นการแพ้สะสมที่สูงมาก ซึ่งก็เกิดจากเหตุผลหลักๆ ดังนี้

  1. เลือกกองทุนผิด (Selection)
  2. ปรับพอร์ตระยะสั้น-กลางผิด (TAA)
  3. เสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และค่าบริหารกองทุน
  4. การเลือก Benchmark ที่ไม่เหมาะสม

ใน 2 ประเด็นแรกนั้น ผมได้เคยพูดถึงและอธิบายไปในสรุปพอร์ตของเดือนก่อนๆ อยู่บ่อยครั้งแล้ว ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดที่ต้องเรียนรู้และปรับปรุงต่อไป

ในประเด็นที่ 3 เรื่องค่าธรรมเนียมนั้น ส่วนของค่าบริหารจัดการคงจะเลี่ยงได้ยาก เพราะมีค่าธรรมเนียมนี้กันทุกกอง แต่ในส่วนของค่าธรรมเนียมการซื้อขาย หากไม่ปรับพอร์ตบ่อยเกินไปก็พอจะเลี่ยงได้บ้าง ซึ่งในการตัดสินใจต่างๆ ผมก็จะคำนึงถึงค่าใช้จ่ายตรงนี้ร่วมด้วย นั่นคือจะไม่ปรับพอร์ตพร่ำเพรื่อ โดยไม่ได้มีเหตุผลที่เชื่อมั่นจริงๆ

ในประเด็นที่ 4 คือเรื่องการเลือก Benchmark นั้น เดิมที่สินทรัพย์ในกลุ่มอสังหาฯ ผมหา Benchmark ที่เหมาะสมมาคำนวณไม่ได้ จึงใช้ผลตอบแทนของกอง M-PROPERTY มาเป็น Benchmark ซึ่งไม่ค่อยเหมาะนัก เพราะกลายเป็นว่า ผมไม่ได้กำลังเทียบผลตอบแทนกับสินทรัพย์ แต่กำลังเทียบผลตอบแทนกับฝีมือของผู้จัดการกองทุน M-PROPERTY อยู่

ซึ่งโชคดีที่ปัจจุบัน ดัชนี PF&REIT TRI ซึ่งเป็นดัชนีที่ผมคิดว่าเหมาะจะใช้เป็น Benchmark มากกว่านั้น มีเผยแพร่ให้สามารถนำมาใช้ได้ฟรีแล้ว ที่ลิ้งค์นี้  ดังนั้น ตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 เป็นต้นไป ผมจึงขอเปลี่ยน Benchmark ของพอร์ตในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ มาเป็นดัชนี PF&REIT TRI แทนครับ

ในส่วนของ Benchmark นั้น หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2019 ก็จะดูเข้าใจง่ายขึ้น ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM กำไร +7.23% แต่พอร์ตกำไรแค่ +3.94% แพ้อยู่ -3.29% ซึ่งถือเป็นการแพ้ BM ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามนับตั้งแต่เริ่มปี 2019 มา

สาเหตุของการแพ้เดือนล่าสุดคืออะไร ในหัวข้อต่อไป จะมีคำตอบให้ครับ


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน มี.ค. 62

slide1

จากกราฟ Performance Attribution (อย่างง่าย) ด้านบน เราสามารถวิเคราะห์ดูสาเหตุได้ครับ ว่าสาเหตุของการที่พอร์ตแพ้ BM ในเดือนนี้นั้น เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
  • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน จะเห็นว่าเดือนนี้ Asset Benchmark ส่วนใหญ่ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือน ก.พ. 62
  • สรุปผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในเดือน มี.ค. 62 เป็นดังนี้
    • ตราสารหนี้ไทย +0.03%
    • อสังหาไทย +6.28% (สูงมากๆๆๆ)
    • หุ้นไทย -0.22%
    • หุ้นต่างประเทศ +1.00%
    • ทองคำ -2.59%
  • ซึ่งในการตัดสินใจลงทุนจริงนั้น ตั้งแต่ต้นปี ผมได้ปรับสัดส่วนหุ้นต่างประเทศให้มาอยู่ที่ระดับ Neutral ซึ่งก็ถือว่าดี เพราะปีนี้หุ้นต่างประเทศให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นไทยมาก ในเดือนล่าสุดนี้ก็ยังบวกต่อ ในขณะที่หุ้นไทยถอยไปติดลบนิดหน่อยแล้ว ดังนั้นการ Underweight หุ้นไทยไว้ในเดือนนี้ ก็ถือว่ายังเป็นการตัดสินใจที่ดีอยู่
  • นอกจากหุ้นต่างประเทศที่ปรับสัดส่วนขึ้นมาสู่ระดับ Neutral ผมเองก็ได้ปรับอสังหาฯ ขึ้นมาเกือบๆ จะ Neutral ด้วย (Weight จริง 23.9% vs Weight ตามแผน 25%) การตัดสินใจนี้ก็ถือว่าดีพอใช้ได้ เพราะปีนี้อสังหามาแรงจริงๆ โดยเฉพาะเดือนล่าสุด Benchmark ซึ่งเป็นอสังหาไทย บวกไป 6.28% ถือว่าเป็นการบวกมากแบบที่ไม่เห็นกันบ่อยๆ
  • ต้อง Remark ไว้ตัวใหญ่ๆ ว่า นี่เป็นเพียงการอ่านผลรายเดือน ซึ่งก็สะท้อนแค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ เท่านั้น ผมนำมันมาใช้ตัดสินใจบ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนในการตัดสินใจปรับพอร์ต จะใช้การประเมินโดยเน้นการมองไปข้างหน้า (Forward-Looking) เป็นหลัก

2. ระดับ Fund Selection

  • ในระดับนี้เราจะเจาะเข้ามาดูกองที่เลือกไว้กันว่า เมื่อเทียบกับ Asset BM แล้ว กองทำได้ดีร้ายอย่างไร
  • หากอ่านที่คอลัมน์ Selection จะเห็นว่าเดือนนี้มีกองที่ Overperformed ตัว Asset BM อยู่เพียง 2 กอง นั่นคือ K-FIXED และ CIMB-PRINCIPAL GOPP-A
  • ขณะที่กองที่เหลือ ยังทำผลตอบแทนได้ด้อยกว่า BM ของแต่ละสินทรัพย์
  • โดยกองที่มีผลอย่างรุนแรงต่อการแพ้ Benchmark ในเดือนนี้คือ CIMB-PRINCIPAL iPROP-A ซึ่งบวกเพียง 3.36% ขณะที่ BM บวกมากถึง 6.28% สาเหตุเพราะกองนี้มีกระจายไปลง Singapore REIT ด้วย ซึ่งเดือนนี้ S-REIT ไม่ได้บวกมากเท่ากับ Thai REIT จึงแพ้เป็นธรรมดา
  • ซึ่งผมเช็คผลตอบแทนกอง Fund of Property กองอื่นๆ ที่ลงทุน S-REIT ด้วย ก็ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับ iPROP จึงสรุปได้ว่า ที่แพ้เป็นเพราะไม่ได้ลงไทยล้วนเฉยๆ ครั้นจะย้ายมาลงไทยล้วน ผมก็ไม่เอา เพราะส่วนตัวอยากได้การกระจายความเสี่ยง ไม่แน่ว่าช่วงนี้ไทยล้วนบวกเยอะมาก ระยะต่อไปกองที่ผสม S-REIT อาจทำได้ดีกว่าก็เป็นได้ (แต่ก็เป็นการคาดเดาล้วนๆ นะครับ)
  • โดยสรุปในระดับ Fund Selection นี้ก็ถือว่าผิดมากกว่าถูกครับ

โดยรวม การตัดสินใจทั้งสองขั้นคือ TAA และ Selection นั้น ผลลัพธ์การลงทุนในเดือน มี.ค. 62 ผมมองตัวเองว่าทำ TAA ได้ดี ส่วน Selection เฉพาะเดือนนี้ก็ยังไม่ค่อยดี

 


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

สัดส่วนการลงทุนในพอร์ตที่ปรับมาจนถึงปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับที่ผมค่อนข้างพอใจแล้ว คือมีการเอียงพอร์ตไปทางตราสารหนี้ (เสี่ยงต่ำ) โดยน้ำหนักที่เอียงมานั้น โยกมาจากหุ้นไทย (เสี่ยงสูง) ซึ่งผมคิดว่าหุ้นไทยยังมีทิศทางไม่ชัดเจนนัก

ส่วนสัดส่วนในสินทรัพย์อื่นๆ ได้แก่ อสังหาฯ หุ้นต่างประเทศ ทองคำ ก็อยู่ในระดับใกล้เคียง SAA

แนวโน้มราคาสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 62 ก็เป็นไปตามตารางด้านล่างนี้

slide2

จะเห็นว่าสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทั้งระยะกลาง (วัดโดยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20-Week) และระยะยาว (วัดโดยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 40-Week) แล้ว จะมีที่ยังขึ้นไม่เต็มที่ก็คือหุ้นไทย หุ้นญี่ปุ่น

โดยหุ้นภูมิภาคที่เป็นขาขึ้นชัดเจนหน่อยในความเห็นผมคือหุ้นเอเชีย (ซึ่งนับรวมทั้งหุ้นจีน หุ้นอินเดีย)

การตัดสินใจปรับพอร์ตในเดือนนี้ของผม จึงเป็นการปรับเพิ่มหุ้นเอเชียต่อเนื่องจากเดือนก่อน ในกอง ASP-ASIAN

rebalance

โดยผมมีเงินที่ต้องการปรับพอร์ตคือ เงินใหม่ 5,000 บาท ซึ่งมีพร้อมอยู่ในบัญชีแล้ว กับเงินปันผลที่จะเข้าบัญชีวันที่ 5 เม.ย. อีก  938.02 บาท แต่กอง ASP-ASIAN นั้นต้องซื้อขั้นต่ำครั้งละ 5,000 บาท

ผมขี้เกียจรอทำรายการพร้อมกันในวันที่ 5 เม.ย. จึงขอสั่งซื้อ ASP-ASIAN ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. ก่อนยอด 5,000 บาท ส่วนเงินปันผลที่จะตามมาทีหลังนั้น ยอดเงินไม่ถึงขั้นต่ำของกอง ผมจึงผันไปซื้อกอง TMBGOLDS แทน เพราะสัดส่วนของ TMBGOLDS ในพอร์ต ก็พร่องกว่าระดับ Neutral อยู่นิดหน่อย และกองนี้ลงทุนขั้นต่ำแค่ 1 บาท จึงไม่ติดปัญหาในการซื้อด้วยเงินน้อย

ทำให้ได้รายการ Transaction ดังนี้

transaction

จะเห็นว่าสำหรับรายการ TMBGOLDS จะเป็นการส่งคำสั่งล่วงหน้า Trade Date จึงเป็นวันที่ 5 เม.ย. เพราะเป็นวันเดียวกันกับที่เงินปันผลจะเข้าบัญชีพอดี


ส่งท้าย

หากวัดอารมณ์ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกด้วย Trend ราคา ก็ต้องบอกว่าช่วงนี้บรรยากาศมันค่อนข้างดีสำหรับการลงทุน แต่เมื่อมองเรื่องข่าวสารต่างๆ ที่ปรากฎในหน้าสื่อรายวัน ผมกลับรู้สึกอีกแบบ มันหวิวๆ โหวงๆ

แต่ภาวะการลงทุนก็มักเป็นแบบนี้ คือในยามที่เราไม่ได้มั่นใจอะไรมาก หลายครั้งราคาสินทรัพย์ก็มักปรับขึ้นแบบเงียบๆ ซึ่งถ้าใครขายหรือลดพอร์ตไปมากๆ ช่วงที่หุ้นตกปลายปีที่แล้ว มาถึงตอนนี้ก็จะเสียโอกาสได้กำไรคืน ไปพอสมควร

ดังนั้น การลงทุนเป็นพอร์ต โดยที่มีแกนของพอร์ต (SAA) เป็นหลักยึดอยู่ โดยถ้าจะปรับก็ใช้วิธีเอียงพอร์ตเอานิดหน่อย (TAA) ผมว่าก็ยังเป็นวิธีที่พอใช้ได้ สำหรับใครที่ชอบที่จะ Timing ตลาด คือถ้าผิดก็ไม่ผิดเยอะนัก

อย่างพอร์ตนี้ ก็เป็นพอร์ตที่ตั้งใจจะ “ลองของ” คืออยากลองปรับนั่นปรับนี่ แทนที่จะอยู่เฉยๆ เพื่อเป็นการสาธิตให้เห็นกระบวนการตัดสินใจ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับพอร์ตแนว TAA ครับ เพราะถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า เหมือนจะมีการปรับนั่นปรับนี่อยู่ตลอด แต่ลองดูสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตจริงๆ ในรูปด้านล่าง มันก็ไม่ได้เปลี่ยนมากมาย

05-aa-history

ปล. เดือนที่แล้ว มีคนหลังไมค์มาว่า ทำไมไม่ลงรูปเจ้าของพอร์ต ผมเลยตอบไปว่า ลงบ่อยๆ กลัวจะเบื่อกันเสียก่อน

เดือนนี้เลยเอารูปลูกสาวมาโพสให้ดูเหมือนเช่นเคยนะครับ เธอโตขึ้นเยอะมาก หวานขึ้นมากด้วย แต่นิสัยนั้น ซ่าสุดๆ พลังเยอะ จนพ่อแม่หมดสภาพทุกวันเลยครับ

246669

สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (ก.พ. 62)

model-portfolio-2019-02

พอร์ตสาธิต เดือน ก.พ. 62

กลับมาพบกับสรุปพอร์ตสาธิตประจำเดือน ก.พ. 62 กันนะครับ

พอร์ตสาธิตนี้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
    (ดังนั้นถ้าบางท่านอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเนื้อหาเหล่านี้
    ผมสอนไว้ในหลักสูตร DIY ซึ่งไม่ได้มีวิดีโอให้ดูใน YouTube นะครับ)
  2. เป็นพอร์ตที่ตั้งใจจะสาธิตการตัดสินใจลงทุนแบบ Active ในหลายๆ มิติ เช่น Tactical Asset Allocation และ Fund Selection โดยพร้อมรับความเสี่ยงกรณีที่มีการตัดสินใจผิดพลาด (พอร์ตหลักอื่นๆ ของผม รวมทั้งพอร์ตของลูกค้า Avenger Planner ส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ตัดสินใจ Active ลักษณะเดียวกันกับพอร์ตนี้)
  3. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 28 ก.พ. 62

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 361,873.51 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาทแล้ว)
  • เดือน ก.พ. 62 กำไร เท่ากับ 4,420.37  บาท หรือ +1.25%
    โดยราคาสินทรัพย์ต่างๆ ยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากเดือน ม.ค. 

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน ก.พ. 62
    พอร์ต +1.25% vs BM +1.72% แพ้ Benchmark อยู่ -0.47%
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +5.11% vs BM +18.26% แพ้เท่ากับ -13.15%

หากพิจารณาตั้งแต่เริ่มลงทุน จะถือเป็นการแพ้สะสมที่สูงมาก ซึ่งก็เกิดจากเหตุผลหลักๆ ดังนี้

  1. เลือกกองทุนผิด (Selection)
  2. ปรับพอร์ตระยะสั้น-กลางผิด (TAA)
  3. เสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และค่าบริหารกองทุน
  4. การเลือก Benchmark ที่ไม่เหมาะสม

ใน 2 ประเด็นแรกนั้น ผมได้เคยพูดถึงและอธิบายไปในสรุปพอร์ตของเดือนก่อนๆ อยู่บ่อยครั้งแล้ว ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดที่ต้องเรียนรู้และปรับปรุงต่อไป

ในประเด็นที่ 3 เรื่องค่าธรรมเนียมนั้น ส่วนของค่าบริหารจัดการคงจะเลี่ยงได้ยาก เพราะมีค่าธรรมเนียมนี้กันทุกกอง แต่ในส่วนของค่าธรรมเนียมการซื้อขาย หากไม่ปรับพอร์ตบ่อยเกินไปก็พอจะเลี่ยงได้บ้าง ซึ่งในการตัดสินใจต่างๆ ผมก็จะคำนึงถึงค่าใช้จ่ายตรงนี้ร่วมด้วย นั่นคือจะไม่ปรับพอร์ตพร่ำเพรื่อ โดยไม่ได้มีเหตุผลที่เชื่อมั่นจริงๆ

ในประเด็นที่ 4 คือเรื่องการเลือก Benchmark นั้น เดิมที่สินทรัพย์ในกลุ่มอสังหาฯ ผมหา Benchmark ที่เหมาะสมมาคำนวณไม่ได้ จึงใช้ผลตอบแทนของกอง M-PROPERTY มาเป็น Benchmark ซึ่งไม่ค่อยเหมาะนัก เพราะกลายเป็นว่า ผมไม่ได้กำลังเทียบผลตอบแทนกับสินทรัพย์ แต่กำลังเทียบผลตอบแทนกับฝีมือของผู้จัดการกองทุน M-PROPERTY อยู่

ซึ่งโชคดีที่ปัจจุบัน ดัชนี PF&REIT TRI ซึ่งเป็นดัชนีที่ผมคิดว่าเหมาะจะใช้เป็น Benchmark มากกว่านั้น มีเผยแพร่ให้สามารถนำมาใช้ได้ฟรีแล้ว ที่ลิ้งค์นี้  ดังนั้น ตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 เป็นต้นไป ผมจึงขอเปลี่ยน Benchmark ของพอร์ตในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ มาเป็นดัชนี PF&REIT TRI แทนครับ

ในส่วนของ Benchmark นั้น หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2019 ก็จะดูเข้าใจง่ายขึ้น ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM กำไร +5.71% แต่พอร์ตกำไรแค่ +3.41% แพ้อยู่ -2.30% ซึ่งถือเป็นการแพ้ BM ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองนับตั้งแต่เริ่มปี 2019 มา

สาเหตุของการแพ้เดือนล่าสุดคืออะไร ในหัวข้อต่อไป จะมีคำตอบให้ครับ


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน ก.พ. 62

slide1

จากกราฟ Performance Attribution (อย่างง่าย) ด้านบน เราสามารถวิเคราะห์ดูสาเหตุได้ครับ ว่าสาเหตุของการที่พอร์ตแพ้ BM ในเดือนนี้นั้น เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
  • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน จะเห็นว่าเดือนนี้ Asset Benchmark ทั้งหมดยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือน ม.ค. 62
  • สรุปผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในเดือน ก.พ. 62 เป็นดังนี้
    • ตราสารหนี้ไทย +0.31%
    • อสังหาไทย +1.94% (เป็นผลตอบแทนของ PF&REIT TRI แล้ว)
    • หุ้นไทย +0.97%
    • หุ้นต่างประเทศ +4.38%
    • ทองคำ +0.22%
  • ซึ่งในการตัดสินใจลงทุนจริงนั้น แม้เดือนที่แล้ว ผมจะเริ่มปรับพอร์ตเพิ่มหุ้นในส่วนของหุ้นเอเชีย (กอง ASP-ASIAN) และอสังหาฯ (กอง CIMB-PRINCIPAL iPROP-A) ขึ้นมาบ้าง แต่โดยรวมก็ยังอยู่ในสถานะ Underweight ไว้ในทุกสินทรัพย์เสี่ยง ก็ถือว่าพลาดโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากการฟื้นตัวแบบต่อเนื่องนี้ คือได้คืนมา แต่ได้แบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าไร
  • ต้อง Remark ไว้ตัวใหญ่ๆ ว่า นี่เป็นเพียงการอ่านผลรายเดือน ซึ่งก็สะท้อนแค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ เท่านั้น ผมนำมันมาใช้ตัดสินใจบ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนในการตัดสินใจปรับพอร์ต จะใช้การประเมินโดยเน้นการมองไปข้างหน้า (Forward-Looking) เป็นหลัก

2. ระดับ Fund Selection

  • ในระดับนี้เราจะเจาะเข้ามาดูกองที่เลือกไว้กันว่า เมื่อเทียบกับ Asset BM แล้ว กองทำได้ดีร้ายอย่างไร
  • หากอ่านที่คอลัมน์ Selection จะเห็นว่าเดือนนี้มีกองที่ Overperformed ตัว Asset BM อยู่ 3 กอง นั่นคือ
    • KFDYNAMIC ซึ่ง +2.64% ขณะที่ BM +0.97%
    • CIMB-PRINCIPAL GOPP-A +6.05% ขณะที่ BM +4.38%
    • TMBGOLDS +0.90% ขณะที่ BM +0.22%
  • ขณะที่กองที่เหลือ ยังทำผลตอบแทนได้ด้อยกว่า BM ของแต่ละสินทรัพย์
  • โดยสรุปในระดับ Fund Selection นี้ก็ถือว่าผิดมากกว่าถูก

โดยรวม การตัดสินใจทั้งสองขั้นคือ TAA และ Selection นั้น ผลลัพธ์การลงทุนในเดือน ก.พ. 62 ถือว่าทำได้ไม่ดีทั้งสองระดับ ส่งผลให้พอร์ตจริง +1.45% ขณะที่ Benchmark ของพอร์ต +1.72% เลยแพ้ไปนิดหน่อย

ปล. ถ้าท่านใดตาไวจะสังเกตว่า ผลตอบแทนเดือนนี้ของพอร์ตที่ผมเขียนไว้ด้านบนของหน้านั้นบวกอยู่จริงที่ +1.25% ไม่ใช่ +1.45% ซึ่งสาเหตุที่มันต่างกัน ก็เพราะในการวัดที่มาของผลตอบแทน (Performance Attribution) นี้ ผมวัดแบบ “สิ้นเดือนชนสิ้นเดือน” เสมือนว่าพอร์ตมีการปรับแล้วเสร็จตั้งแต่สิ้นเดือนที่แล้วเลย

แต่ในความเป็นจริง กว่าผมจะสั่งปรับพอร์ตในเดือนที่แล้ว มันก็เลื่อนมาช่วงสัปดาห์แรกของเดือนใหม่แล้ว จึงทำให้ ผลตอบแทนที่พอร์ตได้จริงๆ มันแตกต่างจากการวัดแบบสินเดือน ชนสิ้นเดือนเล็กน้อย เนื่องจาก Lag Time ในการ Execute Transaction ครับ และยังมีในส่วนของค่าธรรมเนียม Front-end Fee ที่โดนชาร์จเวลาปรับพอร์ตด้วย


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

หากท่านใดติดตามพอร์ตนี้มาทุกๆ เดือน จะเห็นว่าตั้งแต่ต้นปี 2019 เป็นต้นมา ผมได้คลายการ “ตั้งการ์ด” จากภาวะตลาดที่แย่ในปีที่แล้วลง ด้วยการลดตราสารหนี้ลง (พื้นที่สีฟ้าลดลง) และไปเพิ่มสินทรัพย์เสี่ยงคือ หุ้นและอสังหาฯ ให้มากขึ้น (พื้นที่สีอื่นๆ เพิ่มขึ้น)

05-aa-history

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมตัดสินใจดังกล่าว ก็เพราะราคาสินทรัพย์แทบทุกสินทรัพย์นับตั้งแต่ปีใหม่มานั้น ฟื้นตัวได้ดี จนสามารถมีราคาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว (ซึ่งผมใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average : MA) จากกราฟรายสัปดาห์มาเป็นเกณฑ์

โดยถ้าราคาสูงกว่า MA 20 สัปดาห์ (100 วัน) ก็ถือเป็นขาขึ้นระยะกลาง ขณะที่สูงกว่า MA 40 สัปดาห์ (200 วัน) ก็ถือเป็นขาขึ้นระยะยาว) โดยผมได้สอนเรื่องนี้อย่างละเอียด ไว้ใน หลักสูตร DIY Portfolio ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครรุ่นต่อไป

การฟื้นตัวดีขึ้นนี้ จนถึงปัจจุบัน ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็ยังฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยผมสรุปแนวโน้มราคาเปรียบเทียบเมื่อต้นเดือน ก.พ. และต้นเดือน มี.ค. 62 มาให้ดูดังตารางด้านล่างนี้

สุดสัปดาห์ที่ 1 ก.พ. 62slide3สุดสัปดาห์ 1 มี.ค. 62slide2จาก 2 ตารางด้านบน จะเห็นนะครับว่า ราคาสินทรัพย์ กลับมาเป็นขาขึ้นได้มากขึ้นกว่าเดิม (สีเขียวมากขึ้น) โดยยังคงเหลือหุ้นไทย หุ้นอินเดีย หุ้นญี่ปุ่น ที่ยังไม่กลับเป็นขาขึ้นระยะยาวเต็มตัวนัก

โดยเฉพาะหุ้นไทยนั้น ระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.พ. 62 ก็พยายามจะขึ้นไปสูงกว่าเส้น MA40W ให้ได้ แต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึง มีแรงเทขายออกมา ทำให้ต้องลุ้นกันต่อไป

แต่ยังไงเสีย โดยรวมสำหรับผม ก็มองว่าบรรยากาศการลงทุนนั้นดีขึ้น

การตัดสินใจปรับพอร์ตในเดือนนี้ของผม จึงเป็นการปรับเพิ่มหุ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว โดยมีแผนการปรับดังนี้

rebalance

หลักๆ ให้ดูตรงสีแดง กับสีเขียวนะครับ

สีแดงคือลด สีเขียวคือเพิ่ม โดยจะเป็นการลดเงินสด ซึ่งเป็นเงินลงทุนใหม่รายเดือน ยอด 5,000 บาท และลดตราสารหนี้ในกอง K-FIXED อีก 7,000 บาท รวม 2 ยอดเป็น 12,000 บาท เพื่อเอาไปลงทุนเพิ่มในกอง ASP-ASIAN ต่อเนื่องจากเดือนก่อน

โดยทำ Transaction ดังนี้

  • สั่งซื้อ (Buy) กอง ASP-ASIAN ยอด 5,000 บาท
  • สังสับเปลี่ยนออก (SWO) กอง K-FIXED ยอด 7,000 บาท ไปสับเปลี่ยนเข้า (SWI) กอง ASP-ASIAN

transaction

ผลของการปรับพอร์ตนี้ จะทำให้สัดส่วนการลงทุนหุ้นต่างประเทศ เปลี่ยนจากสถานะ Underweight เข้าสู่สถานะ Neutral

ซึ่งหากในปี 2019 นี้ ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นไปได้ต่อเนื่อง (อาจมีพักบ้างเป็นบางเดือน) การปรับพอร์ตนี้ก็จะช่วยให้พอร์ตได้ประโยชน์มากขึ้น

และหากหุ้นต่างประเทศขึ้นได้ดี ก็อาจจะมีอานิสงส์ ให้หุ้นไทยฟื้นตาม ถึงเวลานั้นก็อาจจะได้มาเพิ่มสัดส่วนหุ้นไทยให้เป็น Neutral บ้าง แต่ตอนนี้คงต้องทิ้งไว้ในสถานะ Underweight ต่อไปก่อนครับ