สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (พ.ย. 62)

model-portfolio-2019-11

พอร์ตสาธิต เดือน พ.ย. 62

กลับมาพบกับสรุปพอร์ตสาธิตประจำเดือน พ.ย. 62 กันนะครับ

พอร์ตสาธิตนี้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
    (ดังนั้นถ้าบางท่านอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะเนื้อหาเหล่านี้
    ผมสอนไว้ในหลักสูตร DIY ซึ่งไม่ได้มีวิดีโอให้ดูใน YouTube นะครับ)
  2. เป็นพอร์ตที่ตั้งใจจะสาธิตการตัดสินใจลงทุนแบบ Active ในหลายๆ มิติ เช่น Tactical Asset Allocation และ Fund Selection โดยพร้อมรับความเสี่ยงกรณีที่มีการตัดสินใจผิดพลาด (พอร์ตหลักอื่นๆ ของผม รวมทั้งพอร์ตของลูกค้า Avenger Planner ส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ตัดสินใจ Active ลักษณะเดียวกันกับพอร์ตนี้)
  3. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

สถานะพอร์ต ณ 29 พ.ย. 62

ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 423,682.55 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาทแล้ว)
  • เดือน พ.ย. 62 ขาดทุน เท่ากับ -1,528.78  บาท หรือ -0.36%
  • ตั้งแต่ต้นปี 62 (11 เดือน) กำไร เท่ากับ 28,459.91 บาท หรือ +8.07%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน พ.ย. 62
    พอร์ต -0.36% vs BM -0.40% ชนะ Benchmark อยู่ +0.04%
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +9.85% vs BM +29.23% แพ้เท่ากับ -19.38%

หากพิจารณาตั้งแต่เริ่มลงทุน จะถือเป็นการแพ้สะสมที่สูงมาก ซึ่งก็เกิดจากเหตุผลหลักๆ คือ

  1. เลือกกองทุนผิด (Selection)
  2. ปรับพอร์ตระยะสั้น-กลางผิด (TAA)
  3. เสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และค่าบริหารกองทุน
  4. การเลือก Benchmark ที่ไม่เหมาะสม (ปัจจุบันแก้ไขให้เหมาะสมแล้ว ตั้งแต่ต้นปี 2019 เป็นต้นมา)

ในส่วนของ Benchmark นั้น หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2019 ก็จะดูเข้าใจง่ายขึ้น ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM กำไร +15.52% แต่พอร์ตกำไรแค่ +8.07% แพ้อยู่ -7.45%

สาเหตุของการแพ้ BM เดือนล่าสุดคืออะไร ในหัวข้อต่อไป จะมีคำตอบให้ครับ


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน ต.ค. 62

slide1

จากกราฟ Performance Attribution (อย่างง่าย) ด้านบน เราสามารถวิเคราะห์ดูสาเหตุได้ครับ ว่าสาเหตุของการที่พอร์ตแพ้ BM ในเดือนนี้นั้น เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
  • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน โดยเดือนนี้อสังหาไทย และ หุ้นไทยยังปรับตัวลงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว ตามมาด้วยทองคำที่ลงมาค่อนข้างแรง จะมีเพียงหุ้นต่างประเทศที่บวกค่อนข้างสูง
  • สรุปผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในเดือน พ.ย. 62 เป็นดังนี้
    • ตราสารหนี้ไทย +0.33%
    • อสังหาไทย -2.77%
    • หุ้นไทย -0.57%
    • หุ้นต่างประเทศ +3.72%
    • ทองคำ -3.32%
  • ซึ่งในเดือน พ.ย. 62  ผมมีการ Underweight หุ้นไทยไว้ค่อนข้างเยอะ (Actual 15.8% vs Target 30.0%) ก็ถือว่าทำได้ถูกต้อง เพราะหุ้นไทยตกต่อเนื่องมาหลายเดือนแล้ว
  • ส่วนที่ถือว่าทำได้ผิดเล็กน้อย ก็คือการที่ยัง Overweight อสังหาอยู่นิดๆ (Actual 27.6% vs Target 25.0%)
  • ส่วนสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีสัดส่วนการลงทุนใกล้เคียงแผน คือ Neutral Weight เราจะไม่นำมาตีความด้วยนะครับ เพราะถือว่า ไม่ได้ Take Active Decision ในส่วนของสินทรัพย์นั้นๆ แค่ลงทุนไปตามแผนปกติ
  • โดยสรุปในระดับของ TAA เดือนนี้ ผมคิดว่าทำได้กลางๆ คือมีทั้งถูกและ ผิด หักล้างกันไป

2. ระดับ Fund Selection

  • ในระดับนี้เราจะเจาะเข้ามาดูกองที่เลือกไว้กันว่า เมื่อเทียบกับ Asset BM แล้ว กองทำได้ดีร้ายอย่างไร
  • หากอ่านที่คอลัมน์ Selection จะเห็นว่าเดือนนี้มีกองที่ Overperformed ตัว Asset BM อยู่ 2 กองคือ PRINCIPAL iPROP-A และ PRINCIPAL GOPP-A
  • ขณะที่มีกองที่ Underperformed อยู่ 5 กอง ซึ่งแปลว่าแพ้มากกว่าชนะ

ซึ่งกองที่แพ้นั้นหลักๆ ก็แพ้เพราะเหตุผลต่อไปนี้

  • หุ้นไทย
    ผมยังคงมี KFDYNAMIC ซึ่งลงทุนในหุ้นขนาดกลางอยู่ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา หุ้นขนาดกลางก็ยังไม่ Perform เทียบหุ้นขนาดใหญ่เท่าไรนัก และตัวกอง KFDYNAMIC เอง ฝีมือก็เริ่มแผ่ว ซึ่งผมจะรอดูอีกสักพักว่าจะต้องเปลี่ยนกองหรือไม่
  • หุ้นต่างประเทศ
    กอง PRINCIPAL GIF ซึ่งลงทุนในหุ้น Global Infrastructure ทั่วโลกให้ผลตอบแทนเป็นลบ ทั้งๆ ที่หุ้นโลกปรับขึ้นแรง นั่นก็เพราะ ตลาดฝั่ง DM ปรับตัวเข้าสู่โหมด Risk On มากขึ้น หุ้นกลุ่ม Defensive อย่าง Global Infrastructure จึงถูกขายออก เพื่อมาลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่นแทนขณะที่กอง ASP-ASIAN แม้จะบวก แต่ก็ยังบวกไม่เท่าหุ้นในฝั่ง DM นั่นเพราะมีหุ้นจีนถ่วงอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งตลาดเอเชียยังมีเรื่องวุ่นวายอยู่มากหน่อย เช่น เรื่องการประท้วงในฮ่องกงเป็นต้น

ซึ่งต้องขอ Remark ไว้ตัวใหญ่ๆ ว่า นี่เป็นเพียงการอ่านผลรายเดือน ซึ่งก็สะท้อนแค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ เท่านั้น ผมนำมันมาใช้ตัดสินใจบ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนในการตัดสินใจปรับพอร์ต จะใช้การประเมินภาพรวมถึงสิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเหมาะสมสำหรับอนาคตที่กำลังจะมาถึง


สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 62 ที่ผ่านมา ผมตัดสินใจคงพอร์ตไว้ ในสถานะ Underweight หุ้น ทั้งไทยและต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะฝั่งที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานนั้นดูไม่ค่อยดี

จากนั้นเมื่อมีการผ่อนคลายเรื่องนโยบายการเงิน ด้วยการดำเนินนโยบายคล้ายๆ QE ออกมาจากฝั่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา

ผมก็เริ่มปรับสัดส่วนหุ้นต่างประเทศให้เข้าสู่ Neutral Weight หรือระดับปกติมากขึ้น เพราะมองว่าน่าจะได้ประโยชน์บ้าง แต่คงไม่ปรับไปจนถึงขั้น Overweight เพราะแม้อารมณ์ตลาดจะดีขึ้น แต่ Valuation ของหุ้นต่างประเทศก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่ถูกแล้ว

05-aa-history

ส่วนแนวโน้มราคาสินทรัพย์ของสินทรัพย์ต่างๆ นั้น ก็ยังถือว่าค่อนข้างดี

trend-summary

จากตารางด้านบนนี้ ซึ่งผมให้น้องๆ ในทีม Avenger Planner ช่วยทำให้ โดยเป็นข้อมูล ณ สิ้นสัปดาห์ 29 พ.ย. 62  จะเห็นว่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในทิศทางขาขึ้น คือสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 20W (100 วัน) และ 40W (200 วัน) ได้ต่อเนื่อง จะมีเพียงหุ้นไทยที่ยังอยู่ในทิศทางขาลงอย่างชัดเจน

หนึ่งเดือนที่ผ่านมา จะมีอสังหาไทยฯ และทองคำที่ปรับลงค่อนข้างแรง จนหลุดขาขึ้นระยะกลาง (20W) มา 4 สัปดาห์แล้ว แต่ยังพอจะยืนขาขึ้นระยะยาว (40W) ได้อยู่ ซึ่งก็ต้องลุ้นกันต่อไป

ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ผมจึงตัดสินใจที่จะคงการตัดสินใจลงทุนของพอร์ตนี้ไว้เหมือนเดิม นั่นคือ “เน้น Underweight หุ้นไทยเป็นหลัก” และปรับสัดส่วนสินทรัพย์อื่นๆ ในพอร์ต ให้เข้าสู่ระดับปกติ (Neutral Weight)

โดยจะดำเนินการปรับพอร์ตเงินใหม่ 5,000 บาท ที่เพิ่งใส่เข้ามาดังนี้

06-rebalance

นั่นคือจะนำไปซื้อกอง PRINCIPAL GOPP-A ซึ่งเป็นหุ้นต่างประเทศ ฝั่ง Developed Market (DM EQ) โดยเมื่อซื้อแล้ว จะส่งผลให้ Weight ของ Foreign Stock ปรับเข้าสู่ Neutral Weight ได้ตามที่ต้องการ