สถานะพอร์ตและการตัดสินใจลงทุน (มี.ค. 61)

model-portfolio-03-2018

Model Portfolio เดือน มี.ค. 61 

กลับมาพบกับสรุป Model Portfolio ประจำเดือน มี.ค. 61 ซึ่งจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เป็นพอร์ตสำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    ของผู้เข้าสัมมนา DIY Portfolio กับ A-Academy
  2. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของลูกสาวผม
    สำหรับเป็นทุนการศึกษาในอีกประมาณ 18 ปีข้างหน้า
    ตามแผนที่เขียนไว้ใน หน้านี้

ก่อนอื่น ทุกท่านสามารถดาวโหลดไฟล์สรุปพอร์ตในรูปแบบ Excel ของเดือนนี้ ไปศึกษาอย่างละเอียดโดย คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ ครับ


สถานะพอร์ต ณ 30 มี.ค. 61

01-outstanding

02-performance

  • เดือนนี้พอร์ตมีมูลค่า 315,717.88 บาท
    (รวมเงินลงทุนใหม่ประจำเดือน 5,000 บาทแล้ว)
  • เดือน มี.ค. 61 ขาดทุน เท่ากับ -5,827.43 บาท หรือ -1.84%
    เป็นการขาดทุนต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ต่อจากเดือน ก.พ.
    โดยพอร์ตย่อลงพอๆ กัน
  • ผลตอบแทนสะสมปี 2561 (3 เดือน) พลิกกลับจากกำไรเป็นขาดทุนแล้ว โดย ขาดทุน  -1.32%

03-benchmark

  • วัดผลเทียบ Benchmark เดือน มี.ค. 61
    พอร์ต -1.84%  vs BM -1.42% แพ้ไปนิดหน่อย
    โดยตกไปในทิศทางเดียวกัน
  • วัดผลเทียบ Benchmark  ตั้งแต่เริ่มลงทุน (ส.ค. 59)
    พอร์ต +8.10% vs BM +13.88% แพ้เท่ากับ -5.79%
    ซึ่งถือว่าแพ้เยอะมาก (เจ็บที่ต้องเขียนซ้ำแล้วซ้ำอีก 55)

แพ้สะสมเยอะขนาดนี้คงไม่ใช่แค่ผลจากค่าธรรมเนียมแล้ว แต่เป็นผลจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดด้วย หากล้างผลการแพ้ชนะในปีเก่าๆ ทิ้งไป เหลือไว้แค่ปี 2018 ก็ยังถือว่าแพ้เยอะอยู่ ดังรูปด้านล่าง

03-2-benchmark

นั่นคือตั้งแต่ต้นปีมานี้ BM กำไร +1.49% แต่พอร์ตขาดทุนไป -1.32% แพ้อยู่ -2.82% ทีเดียว


วิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทนเดือน มี.ค. 61

04-attribution-graph

จากกราฟ Performance Attribution ด้านบน จะเห็นว่าสีแดงเป็นแถบยาวเยอะทีเดียว มาวิเคราะห์ดูสาเหตุกันครับ ว่าผลตอบแทนที่แย่ของเดือนนี้ เกิดจากอะไร

  1. ระดับ Tactical Asset Allocation (TAA)
    • ระดับนี้เราจะยังไม่ดูกอง แต่ดูที่ระดับ Asset ก่อน จะเห็นว่าเดือนนี้ Asset Benchmark ที่ติดลบเรียงจากลบมากไปลบน้อย ได้แก่ Foreign Stock -3.61% และ Thai Stock -2.36% ถือเป็นเดือนที่หุ้นตกกันทั่วโลก ซึ่งผม Overweight หุ้นต่างประเทศไว้ ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิด
    • ส่วน Property นั้นลบไป -0.14% การตัดสินใจ Underweight ไว้ก็ถือว่าพอใช้ได้
  2. ระดับ Fund Selection
    • เดือนนี้มีกองที่ Underperform ตัว Asset Benchmark เต็มๆ ก็คือ KFDYNAMIC ซึ่งลบไป -7.00% ทั้งๆ ที่ Benchmark คือ SET TRI ลบแค่ -2.36% เท่านั้น ถือว่าทำได้แย่มากทีเดียว (แต่อดีตเค้าก็เคยขึ้นแรงมากมาเช่นกัน นี่แหละหนากองหุ้นกลางเล็ก เวลาจะแกว่งก็แกว่งเสียน่ากลัว)
    • เสียแต้มไปจาก KFDYNAMIC ก็ได้คืนมาจาก BTP บ้าง เพราะเดือนนี้พลิกมาบวกได้ 1.48% แม้หุ้นไทยโดยรวมจะลบ แต่ก็คงชดเชยการติดลบ 7% ของ KFDYNAMIC ไม่ไหว ทำให้โดยรวมถือว่า Fund Selection ในส่วนหุ้นไทยนั้นล้มเหลวในเดือนนี้
    • ส่วนของหุ้นต่างประเทศก็มีเพียงกอง CPAM GIF เท่านั้น ที่ยังพอจะแข็งอยู่บ้าง คือลบแค่ -1.29% เทียบกับ BM ที่ลบมากถึง -3.61%
      ตรงข้ามกับ KF-GTECH ที่โดนหนัก เพราะหุ้นกลุ่ม Tech รับผลกระทบไปตรงๆ จากภาวะตลาดปัจจุบัน ลบไปถึง -7.15%
    • โดยรวมในส่วนของหุ้นต่างประเทศ ก็ถือว่าพอจะกลางๆ ได้บ้าง
      คือเสมอ BM 2 กอง แพ้ 1 กอง ชนะ 1 กอง

สรุปการปรับพอร์ตเดือนนี้

สถานการณ์ปัจจุบัน ผมคิดว่าภาวะตลาดหุ้นแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งหากท่านใดติดตามมาตลอด จะเห็นว่า ผมหยุดการนำเงินใหม่เข้าซื้อหุ้นมาได้ 3-4 เดือนแล้ว คือพอมีเงินเข้าใหม่ก็พักไว้ในตราสารหนี้ไทยผ่านกอง K-FIXED มาเรื่อยๆ แต่ยังไม่แตะเงินเก่าในพอร์ต

เดือนนี้จะเป็นเดือนแรกที่ผมตัดสินใจปรับเงินเก่าในพอร์ต ในระดับที่ถือว่าเยอะ หากเทียบกับที่เคยนิ่งๆ มาตลอด โดยผมปรับดังนี้

07-target-aa

ลองเปรียบเทียบคอลัมน์ Current Asset Allocation กับ Target ใหม่ดูนะครับ จะเห็นว่าผมลดหุ้นลงทั้งไทยและเทศ โดยนำเงินที่ลดนั้นไปเพิ่มในส่วนของตราสารหนี้ไทยแทน ส่วนเงินใหม่ 5000 บาท และอีก 564.31 บาทซึ่งเป็นเงินปันผลจากกอง TMBPIPF ที่ได้รับในเดือนที่แล้ว ก็นำไปเติมในตราสารหนี้เช่นกัน

โดยสรุปจะได้ภาพใหญ่ของการปรับพอร์ตดังนี้

  • ตราสารหนี้ไทย 19.6% => 33.8% (เพิ่มขึ้น 14.3%)
  • อสังหา 17.6% ไม่ปรับ
  • หุ้นไทย 28.8% => 22.4% (ลดลง 6.3%)
  • หุ้นต่างประเทศ 24.2% => 16.3% (ลดลง 7.9%)
  • ทองคำ 9.9% ไม่ปรับ

โดยทำรายการซื้อขายดังนี้

06-transaction

ในส่วนของกอง KFDYNAMIC, BTP, TMBAGLF, KT-EURO ที่ขายไป เดี๋ยวพอได้เงินเข้าบัญชี ผมจะค่อยสั่งซื้อเข้าไปพักไว้ใน K-FIXED อีกทีหนึ่งนะครับ

เหตุผลสำคัญที่ผมมองว่าตลาดหุ้นแย่ลงนั้นเพราะราคาหุ้นของหลายๆ ตลาดหลัก ได้หลุดแนวโน้มขาขึ้นในระยะกลาง (ซึ่งผมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 สัปดาห์) และแนวโน้มระยะยาว (ซึ่งผมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 40 สัปดาห์) มาค่อนข้างต่อเนื่อง ดังตารางด้านล่าง

08-taa-trend

จะเห็นว่าช่วงกลางเดือน (16/3/2018) ก็ยังหลุดกันไม่มาก แต่อีกสองสัปดาห์ถัดมา ก็เริ่มหลุดกันมากขึ้น และปัจจุบันก็ยังหลุดอยู่ โดยเฉพาะถ้าดูข้อมูลล่าสุดเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย. 2561) จะเห็นว่าตลาดหลักคือ S&P500 ซึ่งเป็นตลาดหุ้นรายประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็หลุดเส้น MA20W และ MA40W แล้ว ดังรูปด้านล่าง

09-sp500

ซึ่งหากใครได้เรียนในคอร์ส DIY Portfolio ก็น่าจะพอจำได้ว่า ถ้าใครให้น้ำหนักกับแนวทาง Trend Following / Momentum แล้ว นี่ถืิอเป็นสัญญาณที่ต้องระวัง ยิ่งเมื่อเกิดกับตลาดใหญ่ๆ ของโลก หลายตลาด ก็อาจมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นอื่นๆ ด้วย ทำให้ผมตัดสินใจที่จะปรับลดพอร์ตลงค่อนข้างมากในครั้งนี้

แต่อย่าลืมนะครับ คำว่าปรับลดของผม ไม่ได้หมายถึงการอพยพเงิน จนทำให้กลายเป็นการเก็งกำไรเข้าออก แต่ยังคงหมายถึงการลงทุนเป็นพอร์ตอยู่ จะสังเกตว่าแม้หลังปรับพอร์ตแล้ว พอร์ตผมก็ยังคงความ Diversified และลงทุนใน Global Multi-Asset อยู่ดี เพียงแต่มีสถานะตั้ง Guard รับมือกับความเสี่ยงมากขึ้น

ซึ่งถ้าตลาดลงต่อ พอร์ตก็จะเสียหายน้อยกว่าการไม่ทำอะไร แต่ถ้าตลาดไม่ลงต่อ ผมก็จะไม่ได้พลาดถึงขนาดที่จะรู้สึกเสียดายมากมาย และยังสามารถโยกเงินที่ออกไป กลับมาลงทุนต่อได้ไม่ยาก ซึ่งก็ต้องลุ้นกันในเดือนถัดๆ ไป


ทิ้งท้ายก่อนจาก

พยายามหารูปและวิดีโอของลูกที่จะช่วยทำให้ผ่อนคลาย ยิ้มได้มาแปะช่วงท้าย แต่เดือนนี้เก็บรูปและวิดีโอไว้น้อย เลยมีมาแบ่งปันรอยยิ้มกันประมาณนี้นะครับ

img_20180330_174427__01

img_20180330_172936

img_20180326_151949_bokeh

img_20180326_074554